Thursday, July 22, 2010

เทคนิคการถ่ายภาพ พลุ



ช่วงปลายปีจะมีงานที่มีการจุดพลุด้วยกันหลายงาน ยกตัวอย่างใกล้ๆนี้คืองานลอยกระทง งาน 5ธันวาฯ และงานปีใหม่ ดังนั้นคงจะมีหลายท่านเตรียมตัว ตั้งหน้าตั้งตารอที่จะไปถ่ายพลุ หลายคนอาจจะเพิ่งเคยถ่ายภาพพลุเป็นครั้งแรก ดังนั้นอย่ารอช้า เรามาดูวิธีการ่ายภาพพลุและทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนดีกว่า จะได้ไม่พลาดเก็บภาพพลุสวยๆในแต่ล่ะงาน


เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
1.กล้อง ควรจะเป็นกล้อง ดิจิตอล SLR จะสามารถปรับค่าต่างๆได้สะดวก แต่ถ้าเป็นกล้องคอมแพคที่มีโหมดถ่ายภาพแบบ M หรือ ซีนโหมดสำหรับถ่ายภาพพลุก็น่าจะพอใช้งานได้ในระดับหนึ่ง

2. ขาตั้งกล้อง ขาดไม่ได้เลยสำหรับการถ่ายภาพพลุ เพราะเราต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ คงจะเป็นไปได้ยากมากที่จะถือกล้องให้นิ่งได้

3. สายลั่นชัตเตอร์ รีโมท อันนี้ไม่จำเป็นแต่มีไว้จะได้ภาพที่นิ่งชัวร์ เพราะบางคนกดปุ่มชัตเตอร์โดยตรงอาจทำให้กล้องสั่นไหวได้


มาถึงวิธีการถ่ายภาพ
1.ขั้น แรกให้ปรับโหมดกล้องมาที่ M ตั้งค่า ISO 100 ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ 8 หรือ 11 ค่ารูรับแสงจะเป็นตัวกำหนดว่าเส้นพลุที่เราถ่ายจะเล็กหรือใหญ่ ยิ่งแคบเส้นพลุก็จะเล็กตามไปด้วย ถามว่าทำไมไม่ใช้แคบมากๆตอบคือจะทำให้เห็นเส้นพลุเล็กเกินไปนั่นเองดังนั้น โยมากจะใช้กันที่ 8 11 หรือ 16เป้นหลัก

2. ให้มองหาฉากหน้าสวยๆ แทนการถ่ายแต่ภาพพลุเปล่าๆ ฉากหน้าสวยๆอาจจะเป็น วัดวา อาคาร ตึก ต่างๆตามแต่ว่าพลุจุดที่ไหน ตั้งกล้องจัดองค์ประกอบโดยเหลือพื้นที่ ด้านบนไว้สำหรับพลุที่จะถูกจุดขึ้นไป

3. มาถึงค่าความเร็วชัตเตอร์ ผมจะใช้ 2 วิธี คือวิธีแรก ใช้ชัตเตอร์ B โดยจับจังหวะการกดชัตเตอร์ เมื่อพลุถูกจุดขึ้นเราจะเห็นเส้นไฟวิ่งขึ้นฟ้า ให้กดชัตเตอร์ในจังหวะนี้ (กดค้างไว้)พอพลุแตกบานออก เต็มที่เราค่อยปล่อยปุ่มชัตเตอร์ กับวิธีที่ 2 วัดแสงที่ฉากหน้าที่เราเลือกไว้ โดยให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ ประมาณ 4-6วินาที ซึ่งโดยมากจะสัมพันธ์กับรูรับแสง ไม่ 8 ก็ 11 หรือ 16 ตามแต่ว่าฉากหน้าของเราสว่างมากน้อยเพียงใด เมื่อวัดแสงได้แล้ว ให้ลองถ่ายดูเพื่อเชคว่าฉากหน้าของเราสว่างหรือมืดเกินไปด้วยนะครับ จากนั้นให้รอพลุจุดขึ้นก็กดชัตเตอร์ในจังหวะก่อนที่พลุจะบานนั่นเอง ซึ่งโดยมากจะมีเส้นพลุวิ่งขึ้นไปให้เรามองเห็นก่อนแล้ว
* วิธีแรกกับวิธีที่สองนั้นมีข้อดีข้อเสียต่างกันนะครับ วิธีการใช้ชัตเตอร์ B จะมีข้อดีคือ เราเลือกปิดชัตเตอร์ก่อนได้ถ้าพลุลูกที่เราถ่ายไม่สวย แต่วิธีที่สองเราต้องรอให้ชัตเตอร์ปิดเอง แต่ทำให้ได้ภาพพลุชัวร์ๆไม่พลาดง่ายเท่าวิธีแรกครับ
** สำหรับใครที่ยัง งง ยังไงลองหยิบกล้องในมือเรามาปรับค่าต่างๆแล้วลองถ่ายดูครับ จะเข้าใจมากขึ้นครับ มีข้อสงสัยก็สอบถามมาแล้วกันครับ
*** สำหรับกล้องคอมแพคที่ไม่มีโหมด M ให้ใช้ซีนโหมดที่เป็นซีนถ่ายภาพพลุ แล้วคอยชดเชยแสง+/-เอานะครับ

เคล็ดลับ
- พลุลุกแรก เราอาจจะใช้เป็นไกด์ในการจัดองค์ประกอบภาพให้ลงตัวก่อน โดยยังไม่ล๊อกขาตั้งกล้องให้แน่นมากนัก รอดูพลุลูกแรกบานเต็มที่จะพอเผื่อพื้นที่ถ่ายภาพได้ครับ
- ถ้าพลุที่ถ่ายเป็นประเภทพลุไซโก้รุปต่าง ๆหรือ ตัวเลข ควรใช้ชัตเตอร์ B แล้วกดชัตเตอร์ปล่อยมือเมื่อพลุบานเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขพอดีแล้วนะครับ(จะ เร็วกว่าพลุปกติ)
- ถ้าพลุที่ถ่าย ค่อยๆถูกจุดขึ้นทีล่ะดอก อาจจะใช้ผ้าดำ บังหน้ากล้อง ตั้งชัตเตอร์ B แล้วคอยเปิดปิดผ้าเพื่อซ้อนพลุสัก 2- 3 ลูก ก็ได้ครับ
- ถ้ายังไม่มั่นใจในฝีมือถ่ายแบบธรรมดาไปก่อนชัวร์ที่สุดครับ คือ วัดแสงที่ฉากหน้า จะทำให้ได้ภาพพลุแน่นอน ถ้าไม่กดชัตเตอร์ผิดจังหวะครับ



เคล็ดลับ
- พลุลุกแรก เราอาจจะใช้เป็นไกด์ในการจัดองค์ประกอบภาพให้ลงตัวก่อน โดยยังไม่ล๊อกขาตั้งกล้องให้แน่นมากนัก รอดูพลุลูกแรกบานเต็มที่จะพอเผื่อพื้นที่ถ่ายภาพได้ครับ
- ถ้าพลุที่ถ่ายเป็นประเภทพลุไซโก้รุปต่าง ๆหรือ ตัวเลข ควรใช้ชัตเตอร์ B แล้วกดชัตเตอร์ปล่อยมือเมื่อพลุบานเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขพอดีแล้วนะครับ(จะ เร็วกว่าพลุปกติ)
- ถ้าพลุที่ถ่าย ค่อยๆถูกจุดขึ้นทีล่ะดอก อาจจะใช้ผ้าดำ บังหน้ากล้อง ตั้งชัตเตอร์ B แล้วคอยเปิดปิดผ้าเพื่อซ้อนพลุสัก 2- 3 ลูก ก็ได้ครับ
- ถ้ายังไม่มั่นใจในฝีมือถ่ายแบบธรรมดาไปก่อนชัวร์ที่สุดครับ คือ วัดแสงที่ฉากหน้า จะทำให้ได้ภาพพลุแน่นอน ถ้าไม่กดชัตเตอร์ผิดจังหวะครับ
Click here to Read more...

Saturday, July 17, 2010

7 เทคนิคง่ายๆของการถ่ายภาพบุคคล



โฟกัสที่ตา
หลักการสำคัญข้อแรกของการถายภาพบุคคลคือการโฟกัสที่ดวงตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพเนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและ แสดงถึงอารมณ์ของภาพ ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตาและทำให้ตาไม่ชัดนั้นตัวแบบที่เราถ่ายจะดู เหมือนคนสุขภาพไม่ดีดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที เหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่ กว้างซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกที่น้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่หลายครั้งเอาอาจพบกรณีที่ จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัดหรือบางครั้งเป็นแก้มหรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็ มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่หรือว่าใบหูไม่ชัดก็จะยัง สามารถเป็นภาพที่ดีได้ ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจการโฟกัสดวงตาให้ชัดจึงสำคัญเป็นประการแรก



อย่าตัดบริเวณข้อต่อ
หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบ ภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี ความรู้สึกของคนดูภาพจะรู้สึกเหมือนว่าตัวแบบของเรานั้นแขนหรือขาขาดได้ การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขาหรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องไม่ตัดบริเวณข้อ ต่อเท่านั้นเอง เนื่องจากข้อต่อต่างๆเป็นจุดเชื่อมต่อของร่างกายอยู่แล้ว การตัดบริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นการเน้นย้ำความรู้สึกคนดูภาพว่าอวัยวะส่วนนั้น อาจขาดหายไปได้มากจนเกินไป การระวังไม่ตัดบริเวณข้อต่อจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า





สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน
เพราะว่าการถ่ายภาพ Portrait นั้นช่างภาพไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพแนวอื่นเช่นการถ่ายภาพ ทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายและตัวแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าอย่างได้อารมณ์และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกเลย คืออย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจให้ได้ ว่าท่านต้องการอารมณ์และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงกันแล้วเชื่อแน่นอนได้ว่า คุณจะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการได้ไม่ยากนัก





ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น
ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่นภาพแนววิถีชีวิต แนวสารคดีหรือว่าแนวอื่นๆก็ตาม บางครั้งเราต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคนๆนั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คนๆนั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิตหรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรงๆนั้นค่อนข้างจะเสียมารยาทและทำให้เกิดความเข้าใจผิด ได้บ่อย การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้นคนถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ ถ่ายได้พอๆกัน เราควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อนแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่าย ภาพเขา ถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวยๆนั้นมีความเป็นไปได้สูง ครับ บางครั้งเราอาจต้องพูดคุยไปถ่ายไปและคอยจับกริยาท่าทางของเขาและก็ค่อยๆถ่าย ไป แน่นอนครับในหลายๆครั้งเราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการจะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้นบางครั้งจะทำให้เขาเกร็งได้ ครับ อย่างภาพตัวอย่างนี้ผมถ่ายภาพ “แป๊ะหลี” ซึ่งเป็นพ่อค้าขายกาแฟคนดังแห่งตลาดคลองสวนครับ ก็ต้องอาศัยเข้าไปนั่งพูดคุยกันอยู่สักพักถึงจะได้รูปดีๆมาครับ



Window light
การควบคุมทิศทางแสงนั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคลให้ มีความแตกต่าง ในสถานะการณ์ต่างๆนั้นก็จะมีสภาพแสงที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้นๆอย่างไร หนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียว ซึ่งจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานไม่ยากและสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี เราสามารถใช้เทคนิคนี้ได้โดยการหาสถานที่ที่มีแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงก็ได้ ขอให้เป็นสถานที่ๆสามารรถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดให้แสงเข้ามาด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพแสงที่แตกต่างจากปกติอยู่พอสมควรแล้วซึ่งเทคนิคนี้ไม่ ยากจนเกินไปนัก อยู่ที่เราจะสามารถหาสภาพแสงในสถานที่นั้นๆได้หรือไม่ จากภาพตัวอย่างข้างล่างเป็นภาพที่ให้ตัวแบบยืนข้างๆช่องแสง เพื่อให้มีแสงเข้ามาทางด้านขวาของภาพเพียงด้านเดียว ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะแปลกตาและน่าค้นหามากขึ้น




ถ่ายภาพย้อนแสง
หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและ ได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้ นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่

1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)

จากสามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้น ผมได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยากครับ



การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์

ในหลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญ เรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของ เราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ ใน Tips&Trick ฉบับที่แล้ว เราพูดถึงการวางจุดสนใจในภาพซึ่งเราสามารถนำหลักการนั้นมาใช้งานร่วมกับการ ถ่ายภาพบุคคลได้เช่นกัน โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง (ดูรายละเอียดจุดตัด 9 ช่องได้ใน Tips ฉบับก่อน) จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่ มีปัญหาใดๆ อีกวิธีการหนึ่งก็คือถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายร่วมกับตึกหรือสิ่งที่มีลักษณะ เป็นทรงตั้ง ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับเป็นการถ่ายภาพคู่ก็ได้โดยให้จินตนาการว่า สถานที่นั้นๆเป็นคนอีกคนหนึ่ง ดังรูปที่สองด้านล่างที่เป็นคนถ่ายคู่กับโดมของธรรมศาสตร์
Click here to Read more...

Friday, July 16, 2010

Lomo Style


ทำความเข้าใจกับนัย และความหมายที่แท้จริงของ Lomography เสียก่อน...ก่อนที่จะกลายเป็นโลมั่ว

นับเป็นความเข้าใจที่ไขว้เขวผิดเพี้ยนอย่างมหันต์ของคนนักถ่ายภาพ(ไทย)หลายๆ คนซึ่งเข้าใจผิดเพี้ยนไปว่า "การถ่ายภาพแนวโลโม่ ก็คือ รูปแบบการเล่นภาพอีกสไตล์หนึ่ง...ซึ่งจะต้องเป็นภาพที่มีสีสันแบบเพี้ยนๆ จัดๆ แป๊นๆ ฯลฯ อะไรประมาณนั้น?” และพยายามที่ปรับภาพให้มีสีสันออกไปในทำนองนั้น แล้วมักจะนำมาโพสต์โชว์กันว่า "นี่แหละ..ภาพสไตล์โลโม่" ล่ะ

ซึ่ง..หากบรรดาท่านๆ เหล่านั้นได้ศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะเข้าใจได้กระจ่างว่า แท้ที่จริงแล้วคำว่าการถ่ายภาพแบบ "Lomo" หรือ "ภาพแนว Lomography" นั้น โดยนัยที่แท้ที่จริงแล้ว...หมายความว่าอย่างไร?


มาทำความเข้าใจกับคำว่า Lomography หรือ LOMO กันก่อน

LOMO โดยนัยดั้งเดิม ก็คือ เดิมทีนั้นเป็นเพียงชื่อยี่ห้อ(ต้นตำรับ)ของกล้องป็อกแป้กราคถูกๆ คุณภาพต่ำๆ จากสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยนโยบายของทางการ ของสหภาพโซเวียตตั้งแต่ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว
(โดยมีวัต ถถุประสงค์เพื่อการเก็บภาพในสมรภูมินั่นเอง และต่อเนื่องมาจนถึงยุคสงครามเย็น โดยทางสหภาพโซเวียตได้มีเป้าประสงค์ที่จะให้ประชาชนชาวสหภาพโซเวียต ได้เก็บบันทึกเหตุการณ์ทั่วๆ ไปของบ้านเมืองในแต่ละช่วงเวลา ฯลฯ)


ทำไม?...ภาพที่ได้จากกล้องโลโม่จึงมีลักษณะเช่นนั้น?

ดั่งที่หลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดๆ ว่า เจตนาในการผลิตกล้องฯ ขึ้นมาก็เพื่อ "ต้องการให้มีลักษณะภาพ..เป็นเช่นนั้น"

แต่.."เหตุผล(ปัจจัย, ตัวแปร)ที่แท้จริง ซึ่งทำให้เกิดภาพในลักษณะ และคุณภาพภาพเป็นเช่นนั้น" ก็คือ เป็นเพราะด้วยข้อจำกัดของกล้องนั่นเอง กล่าวคือ "เนื่องจากความด้อยคุณภาพของชิ้นเลนส์ ตลอดจนวัสดุที่ใช้ในการผลิตคุณภาพต่ำมากๆ นั่นเอง ฯลฯ"


วัตถุประสงค์ในการผลิตขึ้นมา

ขอเพียงให้สามารถเก็บภาพเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ได้ แค่เพียงต้องการให้รู้ว่า ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? อย่างไร? กับใคร? ฯลฯ เท่านั้นก็พอ

..................


* ผมได้เคยเขียน "ที่มา ที่ไป..ของกล้องโลโม่" เพื่ออธิบายให้กับผู้ที่เข้าใจผิดเพี้ยน(บางท่าน)ในเว็บๆ หนึ่ง


ตำนานของกล้อง LOMO #1

ตำนานของกล้อง LOMO นั้นจริงๆ แล้วเป็นผลผลิตทางการทหารของสหภาพโซเวียต สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาโน่นแล้ว

กล่าว คือ ทางการทหารของสหภาพโซเวียตได้เป็นผู้สั่งให้มีผลิตขึ้นมาเพื่อทางการทหารโดย เฉพาะ นั่นคือ เพื่อนำไปใช้ถ่ายภาพ "ทำการรบ" ในช่วงสงครามครั้งที่ 2

ดัง นั้น จึงเป็น "โครงการการผลิต" ที่จะต้องเน้นให้มีส่วนประกอบต่างๆ ที่ต่างๆ ให้น้อยที่สุด ให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เรียบง่ายที่สุด(ไม่ซับซ้อน..เพื่อการซ่อมบำรุง รักษาที่ง
่ายที่สุด) ที่สำคัญ คือ เน้นเรื่องความทนทาน (หากใครเคยเล่นกล้องของสหภาพโซเวียต เช่น Zenith หรือ กล้องของเยอรมันตะวันออก เช่น Bronnica, Praktica ย่อมเข้าใจดี) และ ที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง ก็คือ จะต้องมีราคาถูกที่สุด (ทั้งตัวกล้องและฟิล์ม)

ทั้งนี้ทั้งนั้นมิได้มุ่งหวังในด้านในเรื่องคุณภาพภาพเท่าใดนัก (ต้องการเพียงแค่ให้ดูรู้เรื่อง "ว่าอะไรเป็นอะไร" ก็พอแล้ว

ในช่วงสงครามมีหลายบริษัทด้วยกันที่ผลิตเพื่อป้อนให้กับกองทัพของสหภาพโซเวียต...จำน
วนมาก

ภายหลังสงคราม...จึงกลายเป็นสินค้าตกค้าง และได้กระจายไปทั่วโลก


ตำนานของกล้อง LOMO #2 และ ประวัติความเป็นมาของภาพแบบ Lomography

เกิด ขึ้นวันหนึ่ง ณ เมือง St. Petersburg ในปี 2525 (1982) นายพล อีกอร์ เปรโตรวิช คอร์นิสกี้ ซึ่งเป็นมือขวาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอุตสาหกรรมของสหภาพโซเวียต รัสเซียใ

นขณะนั้น ได้นำเอากล้องญี่ปุ่นตัวหนึ่งชื่อว่า Cosina CX-1,CX-2 มาให้กับสหายในพรรคคอมมิวนิสต์ ชื่อว่า นาย มิเชล พาฟิโลวิช พาฟิลอฟ นาย พาฟิลอฟ ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ของโรงงาน lomo ที่ผลิต len และ อาวุธของรัสเซีย ทำการตรวจสอบกล้อง cosina นี้อย่างละเอียด แล้วพบว่ามันประกอบไปด้วย len ที่ไวแสงและคมชัด กับบอดี้ที่ทนทานแข็งแรง เขาทั้งสองท่านนี้ได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้องเล็กๆ ประเภทนี้ จึงได้สั่งให้ก๊อป+++และพัฒนาในเรื่องของ design และผลิตออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เจตนารมณ์ในการ สร้างก็เพื่อให้ชาวคอมมิวนิสต์ทุกคนมีไว้ติดตัวไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำหรับการบันทึกภาพวิถีชีวิต รวมทั้งภาพเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลานั้น

หลังจาก นั้น LOMO LC-A จึงได้ถูกผลิตออกมาอย่างมากมาย มีการจำหน่ายให้แก่สมาชิกคอมมิวนิสต์ทุกคน ทั้งในรัสเซียเอง และ ที่อื่นๆ เช่น เวียดนาม, คิวบา, เยอรมันตะวันตก ฯลฯ

ปรากฎการณ์ครั้งสำคัญ ของ Lomography (ยุคใหม่) ได้เกิดขึ้นที่เมืองปรากปี 1991 ในขณะนั้น Lomo LC-A ได้กลายเป็นของเก่าเก็บในร้านขายของเก่าไปเรียบร้อยแล้ว ไม่มีสายการผลิตอีกต่อไปแล้วคงเหลือตามจำนวนที่ค้างอยู่ใน stock เท่านั้นเอง โดยได้มีนักศึกษาชาวเวียนนา 2 คน ได้ไปพบกล้อง LC-A ที่ร้านของเก่าแล้วซื้อกลับมาเพียงเพื่อถ่ายภาพด้วยความสนุกเท่านั้น พวกเขาได้ลองใช้กล้องนี้ถ่ายในรูปแบบต่างๆ ทุกมุมมองที่พวกเขาถ่ายแทบจะเรียกได้ว่าในทุกๆ สถานที่ หลังจากที่ได้นำ film ล้าง พวกเขาประหลาดใจกับสิ่งที่ได้พบ ทั้งนี้เพราะรูปทั้งหมดได้แสดงอารมณ์ สถานการณ์ ลักษณะภาพในแบบต่างๆ ออกมาได้เป็นที่น่าประทับใจ ชนิดที่พวกเขาทั้งสองไม่เคยได้พบ หรือสัมผัสภาพแบบนี้จากกล้องตัวไหนมาก่อน และหลังจากนั้นพวกเขานึกไปถึงนำ Lomo LC-A และ การถ่ายแบบ Lomograph ออกมาเผยแพร่ จนในที่สุดปัจจุบันนี้ กล้อง Lomo LC-A ถูกผลิตใหม่อีกครั้ง และ ความสำคัญของ Lomographic Society ก็ยิ่งทวีคูณมากขึ้นทุกวัน

ในปัจจุบันได้มีการผลิตกล้อง Lomo ออกมามามากมายหลายแบบด้วยกัน มีทั้งราคาค่อนข้างสูง และราคาถูกๆ


Lomo ยุคใหม่

เมื่อ ประมาณปี 27 ในต่างประเทศได้เริ่มมีกระแสการถ่ายภาพด้วยกล้อง LOMO กันอีกครั้ง...รวมทั้งมีการมีการกว้านซื้อมานำสะสมกันอีกครั้ง

ดังนั้น...จากกล้องป็อกแป็กโหลๆ คุณภาพเมิ้นๆ ก็เลยกลายเป็นเป็นของหายาก ราคาแพง ไปซะนี่
(อิ อิ..ทำนองเดียวกับกล้องคาลซาย และรถโฟคเต่าของเยอรมันน่ะแหละ)...

ก็พอจะเห็นว่าในต่างประเทศได้มีการตั้งเป็นชมรมสำหรับผู้รักการถ่ายภาพแนว LOMO โดยเฉพาะอยู่พอสมควรเหมือนกัน

สำหรับในเมืองไทยของเราก็พอจะมีให้เห็น "เพียงหร็อมๆ แหร็มๆ" อยู่บ้างเหมือนกัน นิ แต่ก็ไม่ได้จริงจังอะไรกันนัก


ใครที่สนใจรายละเอียดมากกว่านี้...ก็ลองไปเซิ้บๆ ดูได้จากเว็บข้างล่างนี้ดู เน่อ

http://www.lomoplc.com/
http://thai-hm.com/retro60/
http://www.lomothai.com/
http://www.lomography.com/

หรือ...จะลอง Search หาคำว่า "Lomo" หรือ "Lomo คือ อะไร?" ก็ได้ เน่อ



*ก็อบข้อความซึ่งผมได้เคยเขียนอธิบายไว้..จากอีกเว็บนึง

นัย และนิยามความหมายของคำว่า "ภาพแนว"โลโม่" ก็คือ การเก็บภาพ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ไปเรื่อยเปื่อย (อาจจะเป็นลักษณะเพื่อต้องการที่จะร้อยเรียงเป็นเรื่องราว หรือ เพียงแค่ต้องการเก็บเป็นที่ระลึกก็ได้)

เช่น เรามีโอกาสเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ มีกล้องป็อกแป้กอยู่หนึ่งตัว เดินไปไหน ยกกล้องขึ้นส่อง "ไม่ต้องเล็ง ไม่ต้อง focus ไม่สนใจองค์ประกอบรูป ไม่สนใจความชัด...สนใจเเค่เพียงรายระเอียดที่พอให้รู้ว่า ใครอยู่ในรูป ที่ไหน อะไร อย่างไรเท่านั้น...ขอเพียงให้ภาพที่เราต้องการเข้ามาอยู่กรอบเท่านั้น..โดย ไมจำเป็นว
่าจะต้องได้มุมภาพ และทัศนมิติแจ่ม เจ๋งๆ อะไรหรอก"] หลังจากนั้น...กดโครมๆ ลูกเดียว

กฎ 10 ข้อ และ/หรือ รูปแบบ/ลักษณะ ของการถ่ายภาพแบบโลโม่ ที่แท้จริง
ดังนี้

1. Take camera anywhere you go. :
ควรพกพากล้องไปยังทุกๆ ที่เราไป

2. Use it any time day and night. :
ถ่ายได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นกลางวัน หรือกลางคืน

3. Lomography is not interference of your life, but part of it. :
เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเรา แต่ไม่ได้ Force หรือ มีผลอะไรมากมาย

4. Try to shot from the hip. :
หามุมมองของตัวเองให้ได้

5. Approace objects of your Lomography desire as colse as possible. :
ยึดหลัก...พยายามเข้าไปใกล้ object ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

6. Don't think :
ถ่ายไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก

7. Be fast. :
ต้องรวดเร็ว ฉับไว และทันต่อเหตุการณ์เสมอ (สำหรับ Lomography แล้วสิ่งที่เห็นครั้งแรกนั้น มีความสำคัญ และมีความหมายที่สุดเสมอ)

8. You don’t have to know before hand what you capture on film. :
ไม่จำเป็นว่าจะต้องตั้งใจถ่ายเสมอไป อาจจะเป็นการบันทึกเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่โดยที่เราไม่ได้เตรียมการณ์ใดๆ ก็ได้

9. Afterwards either. :
หากเป็นไปได้พยายามให้มีobject(จุดนำ สนใจ) อีกตัวอยู่ข้างหลัง Main object อยู่เสมอ

10. Don't worry about any rules. :
ไม่ต้องไปคำนึงถึงกฎเกณฑ์ หรือหลักการถ่ายภาพใดๆ ทั้งสิ้น...(กดส่งๆ พักเดียว...ไม่ต้องคิดอะไรมาก)
Click here to Read more...

ข้อคิดสำหรับนักถ่ายภาพ




เป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระปรีชาสามารถในวิชาด้านศิลปะมากมายหลายสาขา ศิลปะการถ่ายภาพ ก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ทรงเชียวชาญและพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ ดังที่พวกเราได้เห็นเป็นภาพชินตา คือ ไม่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปที่ไหน ก็จะทรงกล้องถ่ายภาพตลอด

ผมโชคดีได้รับหนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ "ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พัฒนาประเทศ" มีความตอนหนึ่งเป็นข้อคิด ซึ่งผมติดใจมากและอยากฝากให้เพื่อน ๆ ทุกท่านได้อ่านด้วย เพื่อเป็นข้อคิดข้อเตือนใจสำหรับ "มือใหม่" "มือสมัครเล่น" อย่างพวกเราครับ

ความตอนหนึ่งของหนังสือ "ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พัฒนาประเทศ" หน้าที่ 36

"เกี่ยว ก้บกล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ เคยมีผู้สนใจในวงการถ่ายภาพสงสัยกันอยู่ว่า ทำไมจึงไม่ทรงใช้กล้องถ่ายภาพชนิดเยี่ยมยอดที่มีราคาแพงที่นักถ่ายภาพบางคน เขาใช้กัน
เพราะตามความเป็นจริงการที่จะทรงใช้กล้องดีมีคุณภาพสูงเพียงใดก็ย่อมได้ แต่กลับทรงใช้กล้องถ่ายภาพแบบธรรมดาที่ใคร ๆ หาซื้อขายได้ทั่วไปในท้องตลาด ซึ่งพระราชจริยวัตรนี้ มีผู้ใหญ่ในวงการถ่ายภาพอธิบายเป็นการเทิดพระเกียรติว่า ประเทศไทยเราผลิตกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพไม่ได้เลย เราต้องเสียดุลย์การค้าให้กับต่างประเทศเป็นอันมาก จึงควรสังวรณ์ระวังการใช้จ่ายในเรื่องนี้ให้ดีแต่พอเหมาะพอควร ส่วนผู้ที่ทำธุรกิจทางการถ่ายภาพต้องการผลิตงานคุณภาพดี ต้องใช้ของดีราคาแพงนี่เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น ผู้ที่ถ่ายภาพกันโดยทั่วไปเพียงแต่ใช้กล้องถ่ายภาพระดับมาตรฐานทำงานได้ อย่างถูกต้อง
ก็เหมาะดีที่สุดแล้ว ความสำคัญเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นแบบอย่างที่วิเศษที่สุด สมควรที่วงการถ่ายภาพทั้งหลายจักได้บำเพ็ญตนเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท เพื่อเป็นศักดิ์สิริมงคลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้"

มีพระราชาดำรัสอีกตอนหนึ่ง แต่ผมหาที่มาไม่เจอแล้วทรงตรัสว่า

การ ถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ เป็นของที่มีประโยชน์ ขออย่าได้ถ่ายภาพเพื่อความสนุกสนานและความสวยงามเท่านั้น จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคมให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม งานศิลปะจะช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หวังว่าคงได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์กันบ้างนะครับ
Click here to Read more...