Friday, July 16, 2010

"GRAY"


ไม่ใช่อะไรอย่างที่คุณคิดแน่ๆ เราไม่ได้กำลังพาคุณออกนอกลู่นอกทาง และเราก็ไม่ได้สะกดหัวเรื่องผิดด้วย!!! เรากำลังจะมาพูดกันถึงเรื่องค่าเทากลาง(หรือสีเทากลาง) ที่คนถ่ายภาพต้องข้องแวะกับมันอยู่เสมอ (รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัว บ้าง) ต่างหากล่ะ!

อวัยวะ...เอ้อ..ปัจจัยที่สำคัญของการถ่ายภาพนั้นมีอยู่หลายอย่างมาก จนบางครั้งกว่าจะได้ภาพดีๆ ซักภาพ นึงนั้นต้องเอาหยาดกายและแรงเหงื่อเข้าแลกต้องคิดแล้วคิดอีกอยู่หลายตลบ ตั้งแต่ก่อนถ่ายไปยันพิมพ์โน่นแหละ

จะให้เอามาพูดกันให้ทะลุปรุโปร่งทุกอย่างในคอลัมน์เล็กๆนี่แม้แต่เทวดาก็ยัง คิดหนัก...อิมพ้อสซิเบิ้ล! หันซ้ายหันขวา ก็หยิบเอามาสักเรื่องสิ เอาพอสังเขปก็ยังดี ก็เริ่มมันที่ต้นทางเลยท่าทางจะดีมาพูดเรื่องวัดแสงกัน ให้พอกล้อมแกล้มเสียหน่อยเถอะน่า





วัดแสง...มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยมันเป็นสิ่งที่จะชี้ได้เกือบทั้งหมดว่าภาพจะออกมาเป็นยังไง จะดีจะร้ายตรงนี้มี ส่วนเยอะเลย ถ้าจะเขียนเป็นตำราก็คงจะได้เล่มใหญ่ๆ

เอามาสักส่วนก็แล้วกัน (เริ่มแคบลงเรื่อยๆ) พอให้ใช้เป็นที่ระลึกก่อนที่จะกดชัตเตอร์แต่ละครั้ง ทุกครั้งก่อนเรา ถ่ายภาพ กล้องจะทำการวัดค่าของแสงที่มันมองเห็นก่อนแล้วก็แสดงค่าแสงตามที่มันคำนวนได้ออกมาบอกคนที่อยู่ หลังกล้องว่านี่มันมืดนี่มันสว่าง ฯลฯ ซึ่งระบบและเทคโนโลยีที่บรรจุอยู่ในกล้องตอนนี้ก็รุดหน้าไปไดไกลโข ในรูปแบบ อัตโนมัติเต็มระบบนั้นเราแทบจะได้ใช้แค่นิ้วเพียงอย่างเดียวนอกนั้นกล้องทำให้หมดแล้ว (แต่ออกมาเป็นยังไงนั่นก็อีกเรื่องนึง)

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ระบบการวัดแสงของกล้องนั้นอ้างอิงค่าในการที่จะประเมินค่าแสงอยู่กับระดับเทากลาง 18% ไม่ว่าจะเป็นในสภาพแสงอย่างไรมันก็จะมองที่ตรงนี้เป็นหลัก เมื่อมันจับหลักที่ว่านี้ได้แล้ว มันก็จะประเมินในสิ่ง ที่สะท้อนแสงกลับมา ว่ามืดหรือว่าสว่างหรือพอดี อันนี้เป็นมาตรฐานของกล้องถ่ายภาพทุกตัว...

และเราก็รู้กันอีก (แล้ว) ว่าถ้าจะให้แม่นยำในเรื่องความถูกต้องของการวัดแสงเพื่อหาข้อมูลก่อนถ่ายภาพ ก็ ต้องหาเจ้าเทากลางนี้ให้กล้องมันดูหรือให้มันวัดแสงตรงนี้...ตรงนี้นะเทากลาง

ค่าระดับสีเทาจะเป็นพื้นฐานความเข้มหรืออ่อนของสีต่างๆ ที่จะปรากฏในภาพด้วย ซึ่งถ้าให้พูดกันง่ายๆ ก็คือ หากกล้องเห็นแล้วว่าเทากลางมาตรฐานที่มันเรียกหาคือตัวนี้ มันก็จะไล่ค่าน้ำหนักระดับเทาขึ้นไปหรือลงมาตามที่ มันเห็น

โชคไม่ดีที่ระบบการวัดแสงของกล้องยังไม่ฉลาดถึงขนาดว่าแสงสะท้อนที่มันได้รับผ่านเลนส์เข้ามานั้นคือสีเทา ที่ถูกต้องจริงๆ หรือเปล่า? ดังนั้นหน้าที่ของคนถ่ายภาพก็คือ เลือกวางตำแหน่งการวัดแสงไปยังจุดที่ใกล้เคียงกับ ระดับเทากลางให้มากที่สุดเพื่อให้เซลล์วัดแสงที่อยู่ภายในตัวกล้องประเมินออกมาให้เพื่อปรับตั้งค่าของการเปิดรับ แสงที่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อความชัวร์ ในระดับมืออาชีพจึงมีอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า “Gray Card” เอามาให้ กล้องดูในสภาพแสงนั้นๆ กันเลย จะได้ไม่โดนค่าแสงที่หลากหลายรูปแบบหลอกเอาให้ไขว้เขว (ดูไปดูมาก็คล้ายสุนัข ตำรวจที่ต้องดมกลิ่นต้นฉบับเสียก่อนจึงจะตามได้ถูกต้องยังไงยังงั้น) ซึ่งถ้าทำตามวิธีที่ว่านี้แล้ว ค่าการวัดแสงที่ได้ก็ จะถูกต้องมากอาจจะเป็น100% ซึ่งก็แปลว่าภาพที่ได้จะมีความผิดเพี้ยนน้อยมาก

แต่ก็อย่างว่า เจ้า Gray Card ที่พูดถึงนี่มันแพงใช่เล่นเลย จะทำเองก็ยังมีความเสี่ยงที่จะผิดเพี้ยนอยู่เสียด้วย เพราะฉะนั้นแล้วก็จะเป็นได้ว่า การประเมินค่าแสงด้วยกล้องก่อนถ่ายภาพมีความสำคัญมากก่อนถ่ายภาพแต่ละ ครั้ง เพราะหากค่าที่ได้จากการวัดแสงนั้นผิดพลาดก็จะเกิดผลเสียต่อความมืดความสว่างและรายละเอียดของภาพ โดยตรง และมีผลต่อสีของภาพแน่นอน

กล้องดิจิตอลอาจจะมีข้อดีที่เหนือกว่ากล้องเดิมฟิล์มตรงที่ว่าถ่ายเสร็จแล้วก็ดูเดี๋ยวนั้นแล้วปรับแก้กันใหม่ได้ แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า บางภาพบางโอกาสอาจไม่เกิดขึ้นซ้ำสอง มีโอกาสได้แค่ครั้งเดียวหรือไม่ก็โดนจอ LCD หลอกว่า ใช้ได้ แต่มาเปิดใช้งานจริงๆ ถึงกับน้ำตาร่วงเลยก็มี ดังนั้นการวัดแสงที่ถูกต้องแม่นยำจึงเป็นอะไรที่สำคัญสุดๆ

และในเมื่อการวัดแสงมันสำคัญสุดๆ การกำหนดจุดและระบบวัดแสงก็เป็นอะไรที่มาก่อนความสำคัญสุดๆ ที่ว่าเพราะถ้าจุดที่วัดแสงมีความใกล้เคียงกับค่าเทากลาง ค่าแสงที่วัดออกมาก็ยิ่งถูกต้องและผิดพลาดน้อย

Gray Card เหรอ? ถูกที่สุดแล้วแต่เราพูดมาซะยืดยาวก็ไม่ได้หมายความว่าให้คุณพกเจ้า Gray Card นี่ไป ไหนมาไหนด้วยตลอดเวลานะ... เรากำลังจะบอกว่าให้วางจุดวัดแสงให้ดีๆ ต่างหาก นั่นก็คือให้ใกล้เคียงกับเทากลาง 18% ที่สุด

แล้วจะไปหาได้ตลอดเวลาเหรอ?

ระบบวัดแสงของกล้องไม่ได้มองเห็นสี (ยกเว้นระบบ 3D Color Matrix ของ Nikon) มันมองทุกอย่างเป็นสีเทา ที่ต่างระดับความเข้มเท่านั้น! เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าเราพอที่จะประเมินได้ว่าสีไหนใกล้กับเทากลางเราก็วัดแสงตรง จุดนั้นซะเลย!

สีไหนบ้างล่ะ? หาเอาเถอะครับในที่ๆ คุณจะถ่าย โดยลองจำสิ่งที่เราเอามาให้ดูที่ด้านล่าง แม้จะไม่มีทฤษฎี เยอะแยะ แต่นี่ก็น่าจะทดแทนกันได้...





เราอาจจะทดลองดูก่อนก็ได้ว่าในสีที่เราเอามาเป็นตัวอย่างนี้มันใช้ได้จริง หรือเปล่า? เช่นสีเขียวของใบไม้ สีม่วงของดอกไม้ หรือสีต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในช่องมองภาพของ คุณ เปลี่ยนระบบวัดแสงเป็น แบบเฉพาะจุดแล้วลองดูทั้งสองด้านที่คุณกำลังเห็นอยู่นี้คือตัวเดียวกัน เพียงแต่ทางฝั่งนี้ได้ถูกแปลงให้เป็นสีเทา นั่นคือสิ่งที่เซลล์วัดแสงในกล้อง ของคุณรับรู้ เปรียบเทียบสีจากช่องทางด้านซ้ายแล้วดูว่าสีใดที่เราพอจะใช้เป็นแนวทาง สำหรับวัดแสงได้?

มาดูที่ตัวอย่างภาพถ่ายจริงๆ กันบ้าง เราได้เอาภาพตัวอย่างไปวิเคราะห์หาค่าสีเทาดู ว่าที่ตำแหน่งใดบ้างที่น่าจะใช้วัดแสงได้ออกมาถูกต้อง ผลออกมาดังภาพขวา คือส่วนที่แสดงด้วยสีเขียวจะวัดแสงได้ใกล้เคียงที่สุดตามด้วยส่วนสีแดง การทดลองนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางประกอบการมองการวัดแสงเพื่อ การถ่ายภาพ ยังไม่สามารถ ใช้เป็นการอ้างอิง ที่ถูกต้อง 100% ได้ ก็หวังเอาไว้ว่่าจะพอเป็นไอเดียสำหรับการวัดแสงครั้งต่อไปของคุณได้บ้างไม่ มากก็ต้องมาก!

Thom Hogan นักถ่ายภาพชื่อดังได้กล่าวแย้งเอาไว้ในบทความของเขาซึ่งเขาได้แย้งว่า อันที่จริงแล้วระบบของกล้องควรที่จะยึดระดับเทากลาง 12% ไม่ใช่ 18% เราก็ยังไม่รู้หรอกว่าใครผิดใครถูก อยากรู้ว่าเขาว่ายังไงก็ตามไปอ่านบทความของเขาดูเลย http://www.bythom.com/graycards.htm

No comments:

Post a Comment