Thursday, July 22, 2010

เทคนิคการถ่ายภาพ พลุ



ช่วงปลายปีจะมีงานที่มีการจุดพลุด้วยกันหลายงาน ยกตัวอย่างใกล้ๆนี้คืองานลอยกระทง งาน 5ธันวาฯ และงานปีใหม่ ดังนั้นคงจะมีหลายท่านเตรียมตัว ตั้งหน้าตั้งตารอที่จะไปถ่ายพลุ หลายคนอาจจะเพิ่งเคยถ่ายภาพพลุเป็นครั้งแรก ดังนั้นอย่ารอช้า เรามาดูวิธีการ่ายภาพพลุและทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนดีกว่า จะได้ไม่พลาดเก็บภาพพลุสวยๆในแต่ล่ะงาน


เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
1.กล้อง ควรจะเป็นกล้อง ดิจิตอล SLR จะสามารถปรับค่าต่างๆได้สะดวก แต่ถ้าเป็นกล้องคอมแพคที่มีโหมดถ่ายภาพแบบ M หรือ ซีนโหมดสำหรับถ่ายภาพพลุก็น่าจะพอใช้งานได้ในระดับหนึ่ง

2. ขาตั้งกล้อง ขาดไม่ได้เลยสำหรับการถ่ายภาพพลุ เพราะเราต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ คงจะเป็นไปได้ยากมากที่จะถือกล้องให้นิ่งได้

3. สายลั่นชัตเตอร์ รีโมท อันนี้ไม่จำเป็นแต่มีไว้จะได้ภาพที่นิ่งชัวร์ เพราะบางคนกดปุ่มชัตเตอร์โดยตรงอาจทำให้กล้องสั่นไหวได้


มาถึงวิธีการถ่ายภาพ
1.ขั้น แรกให้ปรับโหมดกล้องมาที่ M ตั้งค่า ISO 100 ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ 8 หรือ 11 ค่ารูรับแสงจะเป็นตัวกำหนดว่าเส้นพลุที่เราถ่ายจะเล็กหรือใหญ่ ยิ่งแคบเส้นพลุก็จะเล็กตามไปด้วย ถามว่าทำไมไม่ใช้แคบมากๆตอบคือจะทำให้เห็นเส้นพลุเล็กเกินไปนั่นเองดังนั้น โยมากจะใช้กันที่ 8 11 หรือ 16เป้นหลัก

2. ให้มองหาฉากหน้าสวยๆ แทนการถ่ายแต่ภาพพลุเปล่าๆ ฉากหน้าสวยๆอาจจะเป็น วัดวา อาคาร ตึก ต่างๆตามแต่ว่าพลุจุดที่ไหน ตั้งกล้องจัดองค์ประกอบโดยเหลือพื้นที่ ด้านบนไว้สำหรับพลุที่จะถูกจุดขึ้นไป

3. มาถึงค่าความเร็วชัตเตอร์ ผมจะใช้ 2 วิธี คือวิธีแรก ใช้ชัตเตอร์ B โดยจับจังหวะการกดชัตเตอร์ เมื่อพลุถูกจุดขึ้นเราจะเห็นเส้นไฟวิ่งขึ้นฟ้า ให้กดชัตเตอร์ในจังหวะนี้ (กดค้างไว้)พอพลุแตกบานออก เต็มที่เราค่อยปล่อยปุ่มชัตเตอร์ กับวิธีที่ 2 วัดแสงที่ฉากหน้าที่เราเลือกไว้ โดยให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ ประมาณ 4-6วินาที ซึ่งโดยมากจะสัมพันธ์กับรูรับแสง ไม่ 8 ก็ 11 หรือ 16 ตามแต่ว่าฉากหน้าของเราสว่างมากน้อยเพียงใด เมื่อวัดแสงได้แล้ว ให้ลองถ่ายดูเพื่อเชคว่าฉากหน้าของเราสว่างหรือมืดเกินไปด้วยนะครับ จากนั้นให้รอพลุจุดขึ้นก็กดชัตเตอร์ในจังหวะก่อนที่พลุจะบานนั่นเอง ซึ่งโดยมากจะมีเส้นพลุวิ่งขึ้นไปให้เรามองเห็นก่อนแล้ว
* วิธีแรกกับวิธีที่สองนั้นมีข้อดีข้อเสียต่างกันนะครับ วิธีการใช้ชัตเตอร์ B จะมีข้อดีคือ เราเลือกปิดชัตเตอร์ก่อนได้ถ้าพลุลูกที่เราถ่ายไม่สวย แต่วิธีที่สองเราต้องรอให้ชัตเตอร์ปิดเอง แต่ทำให้ได้ภาพพลุชัวร์ๆไม่พลาดง่ายเท่าวิธีแรกครับ
** สำหรับใครที่ยัง งง ยังไงลองหยิบกล้องในมือเรามาปรับค่าต่างๆแล้วลองถ่ายดูครับ จะเข้าใจมากขึ้นครับ มีข้อสงสัยก็สอบถามมาแล้วกันครับ
*** สำหรับกล้องคอมแพคที่ไม่มีโหมด M ให้ใช้ซีนโหมดที่เป็นซีนถ่ายภาพพลุ แล้วคอยชดเชยแสง+/-เอานะครับ

เคล็ดลับ
- พลุลุกแรก เราอาจจะใช้เป็นไกด์ในการจัดองค์ประกอบภาพให้ลงตัวก่อน โดยยังไม่ล๊อกขาตั้งกล้องให้แน่นมากนัก รอดูพลุลูกแรกบานเต็มที่จะพอเผื่อพื้นที่ถ่ายภาพได้ครับ
- ถ้าพลุที่ถ่ายเป็นประเภทพลุไซโก้รุปต่าง ๆหรือ ตัวเลข ควรใช้ชัตเตอร์ B แล้วกดชัตเตอร์ปล่อยมือเมื่อพลุบานเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขพอดีแล้วนะครับ(จะ เร็วกว่าพลุปกติ)
- ถ้าพลุที่ถ่าย ค่อยๆถูกจุดขึ้นทีล่ะดอก อาจจะใช้ผ้าดำ บังหน้ากล้อง ตั้งชัตเตอร์ B แล้วคอยเปิดปิดผ้าเพื่อซ้อนพลุสัก 2- 3 ลูก ก็ได้ครับ
- ถ้ายังไม่มั่นใจในฝีมือถ่ายแบบธรรมดาไปก่อนชัวร์ที่สุดครับ คือ วัดแสงที่ฉากหน้า จะทำให้ได้ภาพพลุแน่นอน ถ้าไม่กดชัตเตอร์ผิดจังหวะครับ



เคล็ดลับ
- พลุลุกแรก เราอาจจะใช้เป็นไกด์ในการจัดองค์ประกอบภาพให้ลงตัวก่อน โดยยังไม่ล๊อกขาตั้งกล้องให้แน่นมากนัก รอดูพลุลูกแรกบานเต็มที่จะพอเผื่อพื้นที่ถ่ายภาพได้ครับ
- ถ้าพลุที่ถ่ายเป็นประเภทพลุไซโก้รุปต่าง ๆหรือ ตัวเลข ควรใช้ชัตเตอร์ B แล้วกดชัตเตอร์ปล่อยมือเมื่อพลุบานเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขพอดีแล้วนะครับ(จะ เร็วกว่าพลุปกติ)
- ถ้าพลุที่ถ่าย ค่อยๆถูกจุดขึ้นทีล่ะดอก อาจจะใช้ผ้าดำ บังหน้ากล้อง ตั้งชัตเตอร์ B แล้วคอยเปิดปิดผ้าเพื่อซ้อนพลุสัก 2- 3 ลูก ก็ได้ครับ
- ถ้ายังไม่มั่นใจในฝีมือถ่ายแบบธรรมดาไปก่อนชัวร์ที่สุดครับ คือ วัดแสงที่ฉากหน้า จะทำให้ได้ภาพพลุแน่นอน ถ้าไม่กดชัตเตอร์ผิดจังหวะครับ

No comments:

Post a Comment