Friday, July 16, 2010

มารู้จักกับ Resolution กัน


มีคำถามอยู่มากมายเกี่ยวกับการนำภาพจากกล้องดิจิตอลไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์ หนึ่งในคำถามที่ทำเอาผู้ ไม่สันทัดกรณีต้องปวดเศียรเวียนเกล้าเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องของความละเอียดหน่วย dpi (Dot Per Inches) หรือ จำนวนจุดต่อนิ้ว...

เหตุที่สงสัยเพราะเจอปัญหาว่ากล้องตัวที่หนึ่งบอกความละเอียด ว่า 72 dpi ตัวที่สองบอกว่า 180 dpi ตัวที่ สามบอกว่า 300 dpi นั่นแสดงว่ากล้องตัวที่บอกว่า 72 dpi คือกล้องที่มีความละเอียดต่ำที่สุดอย่างนั้นหรือ?


คำตอบคือผิด ซึ่งผิดมาตั้งแต่แรกที่เอาหน่วย dpi มาทำความเข้าใจปนกับกล้องดิจิตอลแล้ว ในโลกของกล้อง ดิจิตอลจะบอกขนาดกว้างคูณยาวของภาพในหน่วยพิกเซล (pixel) เช่นในกล้องตัวหนึ่ง ถ่ายที่ความละเอียดสูงสุด ในโหมด JPEG แล้วได้ภาพที่มีขนาด 3872x2592 px (พิกเซล)เมื่อคุณจะนำภาพมาใช้กับงานสิ่งพิมพ์ที่ต้องใช้ใน ระดับความละเอียด 300 dpi สิ่งที่คุณต้องทำคือลืมเรื่องที่กล้องบอกคุณถึงเรื่อง dpi ออกไปก่อน แล้วต้องคำนวณ
ตามวิธีการดังนี้

นำความยาวของภาพ (ด้านที่ยาวที่สุด) หารด้วย 300 ตามตัวอย่างคือ 3872 ÷ 300 = 12.906 ผลลัพธ์ที่ได้ คือความยาวในหน่วยนิ้วที่ภาพนั้นๆ จะนำไปใช้พิมพ์ได้ด้วยความละเอียด 300 dpi ตามตัวอย่างคือนำไปพิมพ์ได้ที่ ขนาดราวๆ 13 นิ้ว...

แล้วตัวเลขทั้งหมดนั้นเอามาจากไหน ?

ในงานสิ่งพิมพ์ระดับ 300 dpi หมายความว่าในหนึ่งนิ้ว จะมีจุดเรียงตัวอัดกันอยู่ 300 จุด ซึ่งหมายถึงภาพ จะมีคุณภาพและความคมชัดในระดับดีมาตรฐานสำหรับงานสิ่งพิมพ์ และงานสิ่งพิมพ์นี้ก็จะอ้างอิงที่ระดับ "จุด ต่อนิ้ว"

ในขณะเดียวกัน กล้องดิจิตอลไม่ได้อ้างอิงที่ระดับจุดต่อนิ้ว แต่บอกจำนวนจุด กว้าง x ยาวทั้งหมดของภาพ ด้วยหน่วยพิกเซล (จุด) เพื่อการแสดงถึงระดับการบันทึกภาพในหน่วย MP (Megapixel) หรือระดับล้านจุด ดังที่ คุณจะเห็นได้ตามโฆษณากล้องทั่วไปว่าถ่ายได้กี่ล้านพิกเซล ซึ่ง MP ก็จะได้ มาจากสูตรการหาพื้นที่ปกติคือ กว้าง x ยาว ก็จะได้จำนวนพิกเซลทั้งหมดในภาพออกมา

ยกตัวอย่างเดิม ภาพขนาด 3872 x 2592 px เมื่อคูณกันแล้วก็จะเท่ากับ 10,036,224 - นี่คือจำนวนพิกเซลทั้ง หมดที่มีในภาพ อยากรู้ค่า MP? ก็เอาหนึ่งล้านไปหารค่าที่ได้ ก็จะได้เท่ากับ10.036224 ดูง่ายๆ ก็คือ 10 MP หรือ สิบล้านพิกเซล...

กลับมาที่ dpi ... ขนาดของภาพที่บอกเป็นพิกเซลนั้นหมายถึง 72 dpi หรือ (72 จุดต่อนิ้ว) เอาตัวอย่างมาหา ขนาดที่พิมพ์ในระดับ 72 dpi ก็คำนวณง่ายๆ คือ 3872 x 72 = 53.7 นี่คือหน่วย "นิ้ว" ที่คุณจะนำไปพิมพ์ได้ที่ 72 dpi... ย้ำว่า 72 dpi (ซึ่งถ้าคุณเอาภาพระดับความละเอียดนี้ไปพิมพ์ ภาษาวงการจะเรียกว่า "ภาพมันแตก")

ดังนั้นถ้าจะหาขนาดที่ 300 dpi ก็ต้องเอา 300 ไปหาร ผลลัพธ์ก็ออกมาตามข้างต้น ถ้าคุณยังสงสัย ก็ลอง เปิดภาพถ่ายจากกล้องของคุณขึ้นมาสัก 1 ภาพด้วย Photoshop แล้วเลือกคำสั่ง Image --> Image size ในส่วนของ Pixel Dimensions คุณก็จะเห็นกว้าง x ยาว ในหน่วยพิกเซล แต่ที่ Document Size ก็จะบอกคุณได้ใน หลายๆ หน่วย,บอก Resolution หรือ "ความละเอียด" ทั้งแบบ "ต่อนิ้ว" และ "ต่อเซ็นต์"ที่สัมพันธ์กับขนาดที่แท้จริง ให้ดู สังเกตที่ด้านหลังของช่องทั้งสามให้มีเส้นดำและสัญลักษณ์ "โซ่" อยู่ด้วย หากไม่มีให้คุณคลิ๊กเลือก "Resample Image" ออกเสีย (ไม่เลือก) แล้วลองเปลี่ยนขนาดกว้าง x ยาว ของภาพไปมาดู คุณก็จะได้เห็นความสัมพันธ์ของ ความละเอียดและขนาดของภาพที่เปลี่ยนตามกันไป ในขณะที่ Pixel Dimensions ยังอยู่เฉยๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือถ้าคุณยังไม่คลายสงสัยเราก็ขอให้คุณลองดูเปรียบเทียบการแสดงค่า EXIF ของกล้องทั้งสองตัวต่อไปนี้ (จาก แถบ Info ของโปรแกรม Adobe Bridge)






• ตัวที่หนึ่ง 3872 x 2592 บอกความละเอียดที่ 300 dpi แต่ดูที่ Dimensions (in inches) คือ 12.9 นิ้ว x 8.6 นิ้ว
• ตัวที่สอง 4368 x 2912 บอกความละเอียดที่ 72 dpi แต่ใน Dimension (in inches) กลับบอกว่า 60.7 นิ้ว x 40.4 นิ้ว

นี่คือข้อสังเกตถึงการนำเอาภาพไปใช้ในระดับ dpi ต่างๆ กัน ซึ่งถ้าคุณเอาไปดูใน Image Size (Photoshop) แล้วลองเปลี่ยนค่าทั้งสองเป็น 300 dpi เหมือนกัน คุณก็จะเข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้ว ภาพของคุณจะพิมพ์ที่ระดับ 300 dpi ได้ที่ขนาดเท่าไหร่กันแน่

เมื่อนำภาพไปอัดที่ร้าน เครื่องมือของที่ร้านก็จะทำการแปลงขนาดของภาพให้มาอยู่ในระดับที่สวยงาม โดย มันจะทำการคำนวณจำนวนจุดต่อนิ้วที่เหมาะสมเพื่อการอัดหรือขยายตามขนาด ซึ่งถ้ากล้องตัวที่สอง(ที่บอกระดับ 72 dpi) จะนำไปพิมพ์ที่ 300 dpi ก็ได้แค่ 14.56 นิ้วเท่านั้น (4368 ÷ 300 = 14.56)

ดังนั้นขอให้เข้าใจว่า เมื่อคุณเห็นdpi จากในกล้องก็ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องสับสน เพราะนั่นคือวิธีการที่ผู้ผลิต กล้องเลือกใช้ในการนำเสนอถึงคุณสมบัติคำนวณการนำไปใช้งานในหน่วย dpi ณ ความละเอียดตามที่กล้องตั้ง มา คุณดูแค่เพียงขนาดกว้าง x ยาวในหน่วยพิกเซลของภาพก็พอ แยกการบอกขนาดแบบ "พิกเซล" และ "dpi" ออกจากกันเสีย อย่าเอามารวมกัน

ต่อเมื่อเข้าสู่กระบวนการสิ่งพิมพ์แล้วต่างหาก dpi คือสิ่งที่คุณต้องให้ความสนใจตามสูตรที่เราเพิ่งบอกไป ข้างต้นนี้ เพราะไม่ว่าจะบอกมาที่ 300หรือ 180 หรือ 72 dpi ก็ล้วนต้องนำมาคำนวณแบบเดียวกัน เพียงแต่แบบ72 dpi นั้นยังไม่ได้ผ่านการคำนวณมาให้ก็แค่นั้นเอง.

No comments:

Post a Comment