Thursday, July 22, 2010

เทคนิคการถ่ายภาพ พลุ



ช่วงปลายปีจะมีงานที่มีการจุดพลุด้วยกันหลายงาน ยกตัวอย่างใกล้ๆนี้คืองานลอยกระทง งาน 5ธันวาฯ และงานปีใหม่ ดังนั้นคงจะมีหลายท่านเตรียมตัว ตั้งหน้าตั้งตารอที่จะไปถ่ายพลุ หลายคนอาจจะเพิ่งเคยถ่ายภาพพลุเป็นครั้งแรก ดังนั้นอย่ารอช้า เรามาดูวิธีการ่ายภาพพลุและทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนดีกว่า จะได้ไม่พลาดเก็บภาพพลุสวยๆในแต่ล่ะงาน


เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
1.กล้อง ควรจะเป็นกล้อง ดิจิตอล SLR จะสามารถปรับค่าต่างๆได้สะดวก แต่ถ้าเป็นกล้องคอมแพคที่มีโหมดถ่ายภาพแบบ M หรือ ซีนโหมดสำหรับถ่ายภาพพลุก็น่าจะพอใช้งานได้ในระดับหนึ่ง

2. ขาตั้งกล้อง ขาดไม่ได้เลยสำหรับการถ่ายภาพพลุ เพราะเราต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ คงจะเป็นไปได้ยากมากที่จะถือกล้องให้นิ่งได้

3. สายลั่นชัตเตอร์ รีโมท อันนี้ไม่จำเป็นแต่มีไว้จะได้ภาพที่นิ่งชัวร์ เพราะบางคนกดปุ่มชัตเตอร์โดยตรงอาจทำให้กล้องสั่นไหวได้


มาถึงวิธีการถ่ายภาพ
1.ขั้น แรกให้ปรับโหมดกล้องมาที่ M ตั้งค่า ISO 100 ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ 8 หรือ 11 ค่ารูรับแสงจะเป็นตัวกำหนดว่าเส้นพลุที่เราถ่ายจะเล็กหรือใหญ่ ยิ่งแคบเส้นพลุก็จะเล็กตามไปด้วย ถามว่าทำไมไม่ใช้แคบมากๆตอบคือจะทำให้เห็นเส้นพลุเล็กเกินไปนั่นเองดังนั้น โยมากจะใช้กันที่ 8 11 หรือ 16เป้นหลัก

2. ให้มองหาฉากหน้าสวยๆ แทนการถ่ายแต่ภาพพลุเปล่าๆ ฉากหน้าสวยๆอาจจะเป็น วัดวา อาคาร ตึก ต่างๆตามแต่ว่าพลุจุดที่ไหน ตั้งกล้องจัดองค์ประกอบโดยเหลือพื้นที่ ด้านบนไว้สำหรับพลุที่จะถูกจุดขึ้นไป

3. มาถึงค่าความเร็วชัตเตอร์ ผมจะใช้ 2 วิธี คือวิธีแรก ใช้ชัตเตอร์ B โดยจับจังหวะการกดชัตเตอร์ เมื่อพลุถูกจุดขึ้นเราจะเห็นเส้นไฟวิ่งขึ้นฟ้า ให้กดชัตเตอร์ในจังหวะนี้ (กดค้างไว้)พอพลุแตกบานออก เต็มที่เราค่อยปล่อยปุ่มชัตเตอร์ กับวิธีที่ 2 วัดแสงที่ฉากหน้าที่เราเลือกไว้ โดยให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ ประมาณ 4-6วินาที ซึ่งโดยมากจะสัมพันธ์กับรูรับแสง ไม่ 8 ก็ 11 หรือ 16 ตามแต่ว่าฉากหน้าของเราสว่างมากน้อยเพียงใด เมื่อวัดแสงได้แล้ว ให้ลองถ่ายดูเพื่อเชคว่าฉากหน้าของเราสว่างหรือมืดเกินไปด้วยนะครับ จากนั้นให้รอพลุจุดขึ้นก็กดชัตเตอร์ในจังหวะก่อนที่พลุจะบานนั่นเอง ซึ่งโดยมากจะมีเส้นพลุวิ่งขึ้นไปให้เรามองเห็นก่อนแล้ว
* วิธีแรกกับวิธีที่สองนั้นมีข้อดีข้อเสียต่างกันนะครับ วิธีการใช้ชัตเตอร์ B จะมีข้อดีคือ เราเลือกปิดชัตเตอร์ก่อนได้ถ้าพลุลูกที่เราถ่ายไม่สวย แต่วิธีที่สองเราต้องรอให้ชัตเตอร์ปิดเอง แต่ทำให้ได้ภาพพลุชัวร์ๆไม่พลาดง่ายเท่าวิธีแรกครับ
** สำหรับใครที่ยัง งง ยังไงลองหยิบกล้องในมือเรามาปรับค่าต่างๆแล้วลองถ่ายดูครับ จะเข้าใจมากขึ้นครับ มีข้อสงสัยก็สอบถามมาแล้วกันครับ
*** สำหรับกล้องคอมแพคที่ไม่มีโหมด M ให้ใช้ซีนโหมดที่เป็นซีนถ่ายภาพพลุ แล้วคอยชดเชยแสง+/-เอานะครับ

เคล็ดลับ
- พลุลุกแรก เราอาจจะใช้เป็นไกด์ในการจัดองค์ประกอบภาพให้ลงตัวก่อน โดยยังไม่ล๊อกขาตั้งกล้องให้แน่นมากนัก รอดูพลุลูกแรกบานเต็มที่จะพอเผื่อพื้นที่ถ่ายภาพได้ครับ
- ถ้าพลุที่ถ่ายเป็นประเภทพลุไซโก้รุปต่าง ๆหรือ ตัวเลข ควรใช้ชัตเตอร์ B แล้วกดชัตเตอร์ปล่อยมือเมื่อพลุบานเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขพอดีแล้วนะครับ(จะ เร็วกว่าพลุปกติ)
- ถ้าพลุที่ถ่าย ค่อยๆถูกจุดขึ้นทีล่ะดอก อาจจะใช้ผ้าดำ บังหน้ากล้อง ตั้งชัตเตอร์ B แล้วคอยเปิดปิดผ้าเพื่อซ้อนพลุสัก 2- 3 ลูก ก็ได้ครับ
- ถ้ายังไม่มั่นใจในฝีมือถ่ายแบบธรรมดาไปก่อนชัวร์ที่สุดครับ คือ วัดแสงที่ฉากหน้า จะทำให้ได้ภาพพลุแน่นอน ถ้าไม่กดชัตเตอร์ผิดจังหวะครับ



เคล็ดลับ
- พลุลุกแรก เราอาจจะใช้เป็นไกด์ในการจัดองค์ประกอบภาพให้ลงตัวก่อน โดยยังไม่ล๊อกขาตั้งกล้องให้แน่นมากนัก รอดูพลุลูกแรกบานเต็มที่จะพอเผื่อพื้นที่ถ่ายภาพได้ครับ
- ถ้าพลุที่ถ่ายเป็นประเภทพลุไซโก้รุปต่าง ๆหรือ ตัวเลข ควรใช้ชัตเตอร์ B แล้วกดชัตเตอร์ปล่อยมือเมื่อพลุบานเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขพอดีแล้วนะครับ(จะ เร็วกว่าพลุปกติ)
- ถ้าพลุที่ถ่าย ค่อยๆถูกจุดขึ้นทีล่ะดอก อาจจะใช้ผ้าดำ บังหน้ากล้อง ตั้งชัตเตอร์ B แล้วคอยเปิดปิดผ้าเพื่อซ้อนพลุสัก 2- 3 ลูก ก็ได้ครับ
- ถ้ายังไม่มั่นใจในฝีมือถ่ายแบบธรรมดาไปก่อนชัวร์ที่สุดครับ คือ วัดแสงที่ฉากหน้า จะทำให้ได้ภาพพลุแน่นอน ถ้าไม่กดชัตเตอร์ผิดจังหวะครับ
Click here to Read more...

Saturday, July 17, 2010

7 เทคนิคง่ายๆของการถ่ายภาพบุคคล



โฟกัสที่ตา
หลักการสำคัญข้อแรกของการถายภาพบุคคลคือการโฟกัสที่ดวงตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพเนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและ แสดงถึงอารมณ์ของภาพ ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตาและทำให้ตาไม่ชัดนั้นตัวแบบที่เราถ่ายจะดู เหมือนคนสุขภาพไม่ดีดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที เหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่ กว้างซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกที่น้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่หลายครั้งเอาอาจพบกรณีที่ จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัดหรือบางครั้งเป็นแก้มหรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็ มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่หรือว่าใบหูไม่ชัดก็จะยัง สามารถเป็นภาพที่ดีได้ ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจการโฟกัสดวงตาให้ชัดจึงสำคัญเป็นประการแรก



อย่าตัดบริเวณข้อต่อ
หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบ ภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี ความรู้สึกของคนดูภาพจะรู้สึกเหมือนว่าตัวแบบของเรานั้นแขนหรือขาขาดได้ การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขาหรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องไม่ตัดบริเวณข้อ ต่อเท่านั้นเอง เนื่องจากข้อต่อต่างๆเป็นจุดเชื่อมต่อของร่างกายอยู่แล้ว การตัดบริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นการเน้นย้ำความรู้สึกคนดูภาพว่าอวัยวะส่วนนั้น อาจขาดหายไปได้มากจนเกินไป การระวังไม่ตัดบริเวณข้อต่อจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า





สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน
เพราะว่าการถ่ายภาพ Portrait นั้นช่างภาพไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพแนวอื่นเช่นการถ่ายภาพ ทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายและตัวแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าอย่างได้อารมณ์และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกเลย คืออย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจให้ได้ ว่าท่านต้องการอารมณ์และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงกันแล้วเชื่อแน่นอนได้ว่า คุณจะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการได้ไม่ยากนัก





ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น
ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่นภาพแนววิถีชีวิต แนวสารคดีหรือว่าแนวอื่นๆก็ตาม บางครั้งเราต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคนๆนั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คนๆนั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิตหรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรงๆนั้นค่อนข้างจะเสียมารยาทและทำให้เกิดความเข้าใจผิด ได้บ่อย การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้นคนถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ ถ่ายได้พอๆกัน เราควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อนแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่าย ภาพเขา ถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวยๆนั้นมีความเป็นไปได้สูง ครับ บางครั้งเราอาจต้องพูดคุยไปถ่ายไปและคอยจับกริยาท่าทางของเขาและก็ค่อยๆถ่าย ไป แน่นอนครับในหลายๆครั้งเราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการจะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้นบางครั้งจะทำให้เขาเกร็งได้ ครับ อย่างภาพตัวอย่างนี้ผมถ่ายภาพ “แป๊ะหลี” ซึ่งเป็นพ่อค้าขายกาแฟคนดังแห่งตลาดคลองสวนครับ ก็ต้องอาศัยเข้าไปนั่งพูดคุยกันอยู่สักพักถึงจะได้รูปดีๆมาครับ



Window light
การควบคุมทิศทางแสงนั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคลให้ มีความแตกต่าง ในสถานะการณ์ต่างๆนั้นก็จะมีสภาพแสงที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้นๆอย่างไร หนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียว ซึ่งจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานไม่ยากและสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี เราสามารถใช้เทคนิคนี้ได้โดยการหาสถานที่ที่มีแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงก็ได้ ขอให้เป็นสถานที่ๆสามารรถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดให้แสงเข้ามาด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพแสงที่แตกต่างจากปกติอยู่พอสมควรแล้วซึ่งเทคนิคนี้ไม่ ยากจนเกินไปนัก อยู่ที่เราจะสามารถหาสภาพแสงในสถานที่นั้นๆได้หรือไม่ จากภาพตัวอย่างข้างล่างเป็นภาพที่ให้ตัวแบบยืนข้างๆช่องแสง เพื่อให้มีแสงเข้ามาทางด้านขวาของภาพเพียงด้านเดียว ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะแปลกตาและน่าค้นหามากขึ้น




ถ่ายภาพย้อนแสง
หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและ ได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้ นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่

1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)

จากสามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้น ผมได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยากครับ



การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์

ในหลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญ เรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของ เราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ ใน Tips&Trick ฉบับที่แล้ว เราพูดถึงการวางจุดสนใจในภาพซึ่งเราสามารถนำหลักการนั้นมาใช้งานร่วมกับการ ถ่ายภาพบุคคลได้เช่นกัน โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง (ดูรายละเอียดจุดตัด 9 ช่องได้ใน Tips ฉบับก่อน) จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่ มีปัญหาใดๆ อีกวิธีการหนึ่งก็คือถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายร่วมกับตึกหรือสิ่งที่มีลักษณะ เป็นทรงตั้ง ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับเป็นการถ่ายภาพคู่ก็ได้โดยให้จินตนาการว่า สถานที่นั้นๆเป็นคนอีกคนหนึ่ง ดังรูปที่สองด้านล่างที่เป็นคนถ่ายคู่กับโดมของธรรมศาสตร์
Click here to Read more...

Friday, July 16, 2010

Lomo Style


ทำความเข้าใจกับนัย และความหมายที่แท้จริงของ Lomography เสียก่อน...ก่อนที่จะกลายเป็นโลมั่ว

นับเป็นความเข้าใจที่ไขว้เขวผิดเพี้ยนอย่างมหันต์ของคนนักถ่ายภาพ(ไทย)หลายๆ คนซึ่งเข้าใจผิดเพี้ยนไปว่า "การถ่ายภาพแนวโลโม่ ก็คือ รูปแบบการเล่นภาพอีกสไตล์หนึ่ง...ซึ่งจะต้องเป็นภาพที่มีสีสันแบบเพี้ยนๆ จัดๆ แป๊นๆ ฯลฯ อะไรประมาณนั้น?” และพยายามที่ปรับภาพให้มีสีสันออกไปในทำนองนั้น แล้วมักจะนำมาโพสต์โชว์กันว่า "นี่แหละ..ภาพสไตล์โลโม่" ล่ะ

ซึ่ง..หากบรรดาท่านๆ เหล่านั้นได้ศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะเข้าใจได้กระจ่างว่า แท้ที่จริงแล้วคำว่าการถ่ายภาพแบบ "Lomo" หรือ "ภาพแนว Lomography" นั้น โดยนัยที่แท้ที่จริงแล้ว...หมายความว่าอย่างไร?


มาทำความเข้าใจกับคำว่า Lomography หรือ LOMO กันก่อน

LOMO โดยนัยดั้งเดิม ก็คือ เดิมทีนั้นเป็นเพียงชื่อยี่ห้อ(ต้นตำรับ)ของกล้องป็อกแป้กราคถูกๆ คุณภาพต่ำๆ จากสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยนโยบายของทางการ ของสหภาพโซเวียตตั้งแต่ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว
(โดยมีวัต ถถุประสงค์เพื่อการเก็บภาพในสมรภูมินั่นเอง และต่อเนื่องมาจนถึงยุคสงครามเย็น โดยทางสหภาพโซเวียตได้มีเป้าประสงค์ที่จะให้ประชาชนชาวสหภาพโซเวียต ได้เก็บบันทึกเหตุการณ์ทั่วๆ ไปของบ้านเมืองในแต่ละช่วงเวลา ฯลฯ)


ทำไม?...ภาพที่ได้จากกล้องโลโม่จึงมีลักษณะเช่นนั้น?

ดั่งที่หลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดๆ ว่า เจตนาในการผลิตกล้องฯ ขึ้นมาก็เพื่อ "ต้องการให้มีลักษณะภาพ..เป็นเช่นนั้น"

แต่.."เหตุผล(ปัจจัย, ตัวแปร)ที่แท้จริง ซึ่งทำให้เกิดภาพในลักษณะ และคุณภาพภาพเป็นเช่นนั้น" ก็คือ เป็นเพราะด้วยข้อจำกัดของกล้องนั่นเอง กล่าวคือ "เนื่องจากความด้อยคุณภาพของชิ้นเลนส์ ตลอดจนวัสดุที่ใช้ในการผลิตคุณภาพต่ำมากๆ นั่นเอง ฯลฯ"


วัตถุประสงค์ในการผลิตขึ้นมา

ขอเพียงให้สามารถเก็บภาพเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ได้ แค่เพียงต้องการให้รู้ว่า ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? อย่างไร? กับใคร? ฯลฯ เท่านั้นก็พอ

..................


* ผมได้เคยเขียน "ที่มา ที่ไป..ของกล้องโลโม่" เพื่ออธิบายให้กับผู้ที่เข้าใจผิดเพี้ยน(บางท่าน)ในเว็บๆ หนึ่ง


ตำนานของกล้อง LOMO #1

ตำนานของกล้อง LOMO นั้นจริงๆ แล้วเป็นผลผลิตทางการทหารของสหภาพโซเวียต สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาโน่นแล้ว

กล่าว คือ ทางการทหารของสหภาพโซเวียตได้เป็นผู้สั่งให้มีผลิตขึ้นมาเพื่อทางการทหารโดย เฉพาะ นั่นคือ เพื่อนำไปใช้ถ่ายภาพ "ทำการรบ" ในช่วงสงครามครั้งที่ 2

ดัง นั้น จึงเป็น "โครงการการผลิต" ที่จะต้องเน้นให้มีส่วนประกอบต่างๆ ที่ต่างๆ ให้น้อยที่สุด ให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เรียบง่ายที่สุด(ไม่ซับซ้อน..เพื่อการซ่อมบำรุง รักษาที่ง
่ายที่สุด) ที่สำคัญ คือ เน้นเรื่องความทนทาน (หากใครเคยเล่นกล้องของสหภาพโซเวียต เช่น Zenith หรือ กล้องของเยอรมันตะวันออก เช่น Bronnica, Praktica ย่อมเข้าใจดี) และ ที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง ก็คือ จะต้องมีราคาถูกที่สุด (ทั้งตัวกล้องและฟิล์ม)

ทั้งนี้ทั้งนั้นมิได้มุ่งหวังในด้านในเรื่องคุณภาพภาพเท่าใดนัก (ต้องการเพียงแค่ให้ดูรู้เรื่อง "ว่าอะไรเป็นอะไร" ก็พอแล้ว

ในช่วงสงครามมีหลายบริษัทด้วยกันที่ผลิตเพื่อป้อนให้กับกองทัพของสหภาพโซเวียต...จำน
วนมาก

ภายหลังสงคราม...จึงกลายเป็นสินค้าตกค้าง และได้กระจายไปทั่วโลก


ตำนานของกล้อง LOMO #2 และ ประวัติความเป็นมาของภาพแบบ Lomography

เกิด ขึ้นวันหนึ่ง ณ เมือง St. Petersburg ในปี 2525 (1982) นายพล อีกอร์ เปรโตรวิช คอร์นิสกี้ ซึ่งเป็นมือขวาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอุตสาหกรรมของสหภาพโซเวียต รัสเซียใ

นขณะนั้น ได้นำเอากล้องญี่ปุ่นตัวหนึ่งชื่อว่า Cosina CX-1,CX-2 มาให้กับสหายในพรรคคอมมิวนิสต์ ชื่อว่า นาย มิเชล พาฟิโลวิช พาฟิลอฟ นาย พาฟิลอฟ ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ของโรงงาน lomo ที่ผลิต len และ อาวุธของรัสเซีย ทำการตรวจสอบกล้อง cosina นี้อย่างละเอียด แล้วพบว่ามันประกอบไปด้วย len ที่ไวแสงและคมชัด กับบอดี้ที่ทนทานแข็งแรง เขาทั้งสองท่านนี้ได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของกล้องเล็กๆ ประเภทนี้ จึงได้สั่งให้ก๊อป+++และพัฒนาในเรื่องของ design และผลิตออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เจตนารมณ์ในการ สร้างก็เพื่อให้ชาวคอมมิวนิสต์ทุกคนมีไว้ติดตัวไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำหรับการบันทึกภาพวิถีชีวิต รวมทั้งภาพเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลานั้น

หลังจาก นั้น LOMO LC-A จึงได้ถูกผลิตออกมาอย่างมากมาย มีการจำหน่ายให้แก่สมาชิกคอมมิวนิสต์ทุกคน ทั้งในรัสเซียเอง และ ที่อื่นๆ เช่น เวียดนาม, คิวบา, เยอรมันตะวันตก ฯลฯ

ปรากฎการณ์ครั้งสำคัญ ของ Lomography (ยุคใหม่) ได้เกิดขึ้นที่เมืองปรากปี 1991 ในขณะนั้น Lomo LC-A ได้กลายเป็นของเก่าเก็บในร้านขายของเก่าไปเรียบร้อยแล้ว ไม่มีสายการผลิตอีกต่อไปแล้วคงเหลือตามจำนวนที่ค้างอยู่ใน stock เท่านั้นเอง โดยได้มีนักศึกษาชาวเวียนนา 2 คน ได้ไปพบกล้อง LC-A ที่ร้านของเก่าแล้วซื้อกลับมาเพียงเพื่อถ่ายภาพด้วยความสนุกเท่านั้น พวกเขาได้ลองใช้กล้องนี้ถ่ายในรูปแบบต่างๆ ทุกมุมมองที่พวกเขาถ่ายแทบจะเรียกได้ว่าในทุกๆ สถานที่ หลังจากที่ได้นำ film ล้าง พวกเขาประหลาดใจกับสิ่งที่ได้พบ ทั้งนี้เพราะรูปทั้งหมดได้แสดงอารมณ์ สถานการณ์ ลักษณะภาพในแบบต่างๆ ออกมาได้เป็นที่น่าประทับใจ ชนิดที่พวกเขาทั้งสองไม่เคยได้พบ หรือสัมผัสภาพแบบนี้จากกล้องตัวไหนมาก่อน และหลังจากนั้นพวกเขานึกไปถึงนำ Lomo LC-A และ การถ่ายแบบ Lomograph ออกมาเผยแพร่ จนในที่สุดปัจจุบันนี้ กล้อง Lomo LC-A ถูกผลิตใหม่อีกครั้ง และ ความสำคัญของ Lomographic Society ก็ยิ่งทวีคูณมากขึ้นทุกวัน

ในปัจจุบันได้มีการผลิตกล้อง Lomo ออกมามามากมายหลายแบบด้วยกัน มีทั้งราคาค่อนข้างสูง และราคาถูกๆ


Lomo ยุคใหม่

เมื่อ ประมาณปี 27 ในต่างประเทศได้เริ่มมีกระแสการถ่ายภาพด้วยกล้อง LOMO กันอีกครั้ง...รวมทั้งมีการมีการกว้านซื้อมานำสะสมกันอีกครั้ง

ดังนั้น...จากกล้องป็อกแป็กโหลๆ คุณภาพเมิ้นๆ ก็เลยกลายเป็นเป็นของหายาก ราคาแพง ไปซะนี่
(อิ อิ..ทำนองเดียวกับกล้องคาลซาย และรถโฟคเต่าของเยอรมันน่ะแหละ)...

ก็พอจะเห็นว่าในต่างประเทศได้มีการตั้งเป็นชมรมสำหรับผู้รักการถ่ายภาพแนว LOMO โดยเฉพาะอยู่พอสมควรเหมือนกัน

สำหรับในเมืองไทยของเราก็พอจะมีให้เห็น "เพียงหร็อมๆ แหร็มๆ" อยู่บ้างเหมือนกัน นิ แต่ก็ไม่ได้จริงจังอะไรกันนัก


ใครที่สนใจรายละเอียดมากกว่านี้...ก็ลองไปเซิ้บๆ ดูได้จากเว็บข้างล่างนี้ดู เน่อ

http://www.lomoplc.com/
http://thai-hm.com/retro60/
http://www.lomothai.com/
http://www.lomography.com/

หรือ...จะลอง Search หาคำว่า "Lomo" หรือ "Lomo คือ อะไร?" ก็ได้ เน่อ



*ก็อบข้อความซึ่งผมได้เคยเขียนอธิบายไว้..จากอีกเว็บนึง

นัย และนิยามความหมายของคำว่า "ภาพแนว"โลโม่" ก็คือ การเก็บภาพ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ไปเรื่อยเปื่อย (อาจจะเป็นลักษณะเพื่อต้องการที่จะร้อยเรียงเป็นเรื่องราว หรือ เพียงแค่ต้องการเก็บเป็นที่ระลึกก็ได้)

เช่น เรามีโอกาสเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ มีกล้องป็อกแป้กอยู่หนึ่งตัว เดินไปไหน ยกกล้องขึ้นส่อง "ไม่ต้องเล็ง ไม่ต้อง focus ไม่สนใจองค์ประกอบรูป ไม่สนใจความชัด...สนใจเเค่เพียงรายระเอียดที่พอให้รู้ว่า ใครอยู่ในรูป ที่ไหน อะไร อย่างไรเท่านั้น...ขอเพียงให้ภาพที่เราต้องการเข้ามาอยู่กรอบเท่านั้น..โดย ไมจำเป็นว
่าจะต้องได้มุมภาพ และทัศนมิติแจ่ม เจ๋งๆ อะไรหรอก"] หลังจากนั้น...กดโครมๆ ลูกเดียว

กฎ 10 ข้อ และ/หรือ รูปแบบ/ลักษณะ ของการถ่ายภาพแบบโลโม่ ที่แท้จริง
ดังนี้

1. Take camera anywhere you go. :
ควรพกพากล้องไปยังทุกๆ ที่เราไป

2. Use it any time day and night. :
ถ่ายได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นกลางวัน หรือกลางคืน

3. Lomography is not interference of your life, but part of it. :
เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเรา แต่ไม่ได้ Force หรือ มีผลอะไรมากมาย

4. Try to shot from the hip. :
หามุมมองของตัวเองให้ได้

5. Approace objects of your Lomography desire as colse as possible. :
ยึดหลัก...พยายามเข้าไปใกล้ object ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

6. Don't think :
ถ่ายไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก

7. Be fast. :
ต้องรวดเร็ว ฉับไว และทันต่อเหตุการณ์เสมอ (สำหรับ Lomography แล้วสิ่งที่เห็นครั้งแรกนั้น มีความสำคัญ และมีความหมายที่สุดเสมอ)

8. You don’t have to know before hand what you capture on film. :
ไม่จำเป็นว่าจะต้องตั้งใจถ่ายเสมอไป อาจจะเป็นการบันทึกเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่โดยที่เราไม่ได้เตรียมการณ์ใดๆ ก็ได้

9. Afterwards either. :
หากเป็นไปได้พยายามให้มีobject(จุดนำ สนใจ) อีกตัวอยู่ข้างหลัง Main object อยู่เสมอ

10. Don't worry about any rules. :
ไม่ต้องไปคำนึงถึงกฎเกณฑ์ หรือหลักการถ่ายภาพใดๆ ทั้งสิ้น...(กดส่งๆ พักเดียว...ไม่ต้องคิดอะไรมาก)
Click here to Read more...

ข้อคิดสำหรับนักถ่ายภาพ




เป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระปรีชาสามารถในวิชาด้านศิลปะมากมายหลายสาขา ศิลปะการถ่ายภาพ ก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ทรงเชียวชาญและพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ ดังที่พวกเราได้เห็นเป็นภาพชินตา คือ ไม่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปที่ไหน ก็จะทรงกล้องถ่ายภาพตลอด

ผมโชคดีได้รับหนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ "ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พัฒนาประเทศ" มีความตอนหนึ่งเป็นข้อคิด ซึ่งผมติดใจมากและอยากฝากให้เพื่อน ๆ ทุกท่านได้อ่านด้วย เพื่อเป็นข้อคิดข้อเตือนใจสำหรับ "มือใหม่" "มือสมัครเล่น" อย่างพวกเราครับ

ความตอนหนึ่งของหนังสือ "ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พัฒนาประเทศ" หน้าที่ 36

"เกี่ยว ก้บกล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ เคยมีผู้สนใจในวงการถ่ายภาพสงสัยกันอยู่ว่า ทำไมจึงไม่ทรงใช้กล้องถ่ายภาพชนิดเยี่ยมยอดที่มีราคาแพงที่นักถ่ายภาพบางคน เขาใช้กัน
เพราะตามความเป็นจริงการที่จะทรงใช้กล้องดีมีคุณภาพสูงเพียงใดก็ย่อมได้ แต่กลับทรงใช้กล้องถ่ายภาพแบบธรรมดาที่ใคร ๆ หาซื้อขายได้ทั่วไปในท้องตลาด ซึ่งพระราชจริยวัตรนี้ มีผู้ใหญ่ในวงการถ่ายภาพอธิบายเป็นการเทิดพระเกียรติว่า ประเทศไทยเราผลิตกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพไม่ได้เลย เราต้องเสียดุลย์การค้าให้กับต่างประเทศเป็นอันมาก จึงควรสังวรณ์ระวังการใช้จ่ายในเรื่องนี้ให้ดีแต่พอเหมาะพอควร ส่วนผู้ที่ทำธุรกิจทางการถ่ายภาพต้องการผลิตงานคุณภาพดี ต้องใช้ของดีราคาแพงนี่เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น ผู้ที่ถ่ายภาพกันโดยทั่วไปเพียงแต่ใช้กล้องถ่ายภาพระดับมาตรฐานทำงานได้ อย่างถูกต้อง
ก็เหมาะดีที่สุดแล้ว ความสำคัญเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นแบบอย่างที่วิเศษที่สุด สมควรที่วงการถ่ายภาพทั้งหลายจักได้บำเพ็ญตนเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท เพื่อเป็นศักดิ์สิริมงคลให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้"

มีพระราชาดำรัสอีกตอนหนึ่ง แต่ผมหาที่มาไม่เจอแล้วทรงตรัสว่า

การ ถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ เป็นของที่มีประโยชน์ ขออย่าได้ถ่ายภาพเพื่อความสนุกสนานและความสวยงามเท่านั้น จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคมให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม งานศิลปะจะช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หวังว่าคงได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์กันบ้างนะครับ
Click here to Read more...

"GRAY"


ไม่ใช่อะไรอย่างที่คุณคิดแน่ๆ เราไม่ได้กำลังพาคุณออกนอกลู่นอกทาง และเราก็ไม่ได้สะกดหัวเรื่องผิดด้วย!!! เรากำลังจะมาพูดกันถึงเรื่องค่าเทากลาง(หรือสีเทากลาง) ที่คนถ่ายภาพต้องข้องแวะกับมันอยู่เสมอ (รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัว บ้าง) ต่างหากล่ะ!

อวัยวะ...เอ้อ..ปัจจัยที่สำคัญของการถ่ายภาพนั้นมีอยู่หลายอย่างมาก จนบางครั้งกว่าจะได้ภาพดีๆ ซักภาพ นึงนั้นต้องเอาหยาดกายและแรงเหงื่อเข้าแลกต้องคิดแล้วคิดอีกอยู่หลายตลบ ตั้งแต่ก่อนถ่ายไปยันพิมพ์โน่นแหละ

จะให้เอามาพูดกันให้ทะลุปรุโปร่งทุกอย่างในคอลัมน์เล็กๆนี่แม้แต่เทวดาก็ยัง คิดหนัก...อิมพ้อสซิเบิ้ล! หันซ้ายหันขวา ก็หยิบเอามาสักเรื่องสิ เอาพอสังเขปก็ยังดี ก็เริ่มมันที่ต้นทางเลยท่าทางจะดีมาพูดเรื่องวัดแสงกัน ให้พอกล้อมแกล้มเสียหน่อยเถอะน่า





วัดแสง...มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยมันเป็นสิ่งที่จะชี้ได้เกือบทั้งหมดว่าภาพจะออกมาเป็นยังไง จะดีจะร้ายตรงนี้มี ส่วนเยอะเลย ถ้าจะเขียนเป็นตำราก็คงจะได้เล่มใหญ่ๆ

เอามาสักส่วนก็แล้วกัน (เริ่มแคบลงเรื่อยๆ) พอให้ใช้เป็นที่ระลึกก่อนที่จะกดชัตเตอร์แต่ละครั้ง ทุกครั้งก่อนเรา ถ่ายภาพ กล้องจะทำการวัดค่าของแสงที่มันมองเห็นก่อนแล้วก็แสดงค่าแสงตามที่มันคำนวนได้ออกมาบอกคนที่อยู่ หลังกล้องว่านี่มันมืดนี่มันสว่าง ฯลฯ ซึ่งระบบและเทคโนโลยีที่บรรจุอยู่ในกล้องตอนนี้ก็รุดหน้าไปไดไกลโข ในรูปแบบ อัตโนมัติเต็มระบบนั้นเราแทบจะได้ใช้แค่นิ้วเพียงอย่างเดียวนอกนั้นกล้องทำให้หมดแล้ว (แต่ออกมาเป็นยังไงนั่นก็อีกเรื่องนึง)

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ระบบการวัดแสงของกล้องนั้นอ้างอิงค่าในการที่จะประเมินค่าแสงอยู่กับระดับเทากลาง 18% ไม่ว่าจะเป็นในสภาพแสงอย่างไรมันก็จะมองที่ตรงนี้เป็นหลัก เมื่อมันจับหลักที่ว่านี้ได้แล้ว มันก็จะประเมินในสิ่ง ที่สะท้อนแสงกลับมา ว่ามืดหรือว่าสว่างหรือพอดี อันนี้เป็นมาตรฐานของกล้องถ่ายภาพทุกตัว...

และเราก็รู้กันอีก (แล้ว) ว่าถ้าจะให้แม่นยำในเรื่องความถูกต้องของการวัดแสงเพื่อหาข้อมูลก่อนถ่ายภาพ ก็ ต้องหาเจ้าเทากลางนี้ให้กล้องมันดูหรือให้มันวัดแสงตรงนี้...ตรงนี้นะเทากลาง

ค่าระดับสีเทาจะเป็นพื้นฐานความเข้มหรืออ่อนของสีต่างๆ ที่จะปรากฏในภาพด้วย ซึ่งถ้าให้พูดกันง่ายๆ ก็คือ หากกล้องเห็นแล้วว่าเทากลางมาตรฐานที่มันเรียกหาคือตัวนี้ มันก็จะไล่ค่าน้ำหนักระดับเทาขึ้นไปหรือลงมาตามที่ มันเห็น

โชคไม่ดีที่ระบบการวัดแสงของกล้องยังไม่ฉลาดถึงขนาดว่าแสงสะท้อนที่มันได้รับผ่านเลนส์เข้ามานั้นคือสีเทา ที่ถูกต้องจริงๆ หรือเปล่า? ดังนั้นหน้าที่ของคนถ่ายภาพก็คือ เลือกวางตำแหน่งการวัดแสงไปยังจุดที่ใกล้เคียงกับ ระดับเทากลางให้มากที่สุดเพื่อให้เซลล์วัดแสงที่อยู่ภายในตัวกล้องประเมินออกมาให้เพื่อปรับตั้งค่าของการเปิดรับ แสงที่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อความชัวร์ ในระดับมืออาชีพจึงมีอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า “Gray Card” เอามาให้ กล้องดูในสภาพแสงนั้นๆ กันเลย จะได้ไม่โดนค่าแสงที่หลากหลายรูปแบบหลอกเอาให้ไขว้เขว (ดูไปดูมาก็คล้ายสุนัข ตำรวจที่ต้องดมกลิ่นต้นฉบับเสียก่อนจึงจะตามได้ถูกต้องยังไงยังงั้น) ซึ่งถ้าทำตามวิธีที่ว่านี้แล้ว ค่าการวัดแสงที่ได้ก็ จะถูกต้องมากอาจจะเป็น100% ซึ่งก็แปลว่าภาพที่ได้จะมีความผิดเพี้ยนน้อยมาก

แต่ก็อย่างว่า เจ้า Gray Card ที่พูดถึงนี่มันแพงใช่เล่นเลย จะทำเองก็ยังมีความเสี่ยงที่จะผิดเพี้ยนอยู่เสียด้วย เพราะฉะนั้นแล้วก็จะเป็นได้ว่า การประเมินค่าแสงด้วยกล้องก่อนถ่ายภาพมีความสำคัญมากก่อนถ่ายภาพแต่ละ ครั้ง เพราะหากค่าที่ได้จากการวัดแสงนั้นผิดพลาดก็จะเกิดผลเสียต่อความมืดความสว่างและรายละเอียดของภาพ โดยตรง และมีผลต่อสีของภาพแน่นอน

กล้องดิจิตอลอาจจะมีข้อดีที่เหนือกว่ากล้องเดิมฟิล์มตรงที่ว่าถ่ายเสร็จแล้วก็ดูเดี๋ยวนั้นแล้วปรับแก้กันใหม่ได้ แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า บางภาพบางโอกาสอาจไม่เกิดขึ้นซ้ำสอง มีโอกาสได้แค่ครั้งเดียวหรือไม่ก็โดนจอ LCD หลอกว่า ใช้ได้ แต่มาเปิดใช้งานจริงๆ ถึงกับน้ำตาร่วงเลยก็มี ดังนั้นการวัดแสงที่ถูกต้องแม่นยำจึงเป็นอะไรที่สำคัญสุดๆ

และในเมื่อการวัดแสงมันสำคัญสุดๆ การกำหนดจุดและระบบวัดแสงก็เป็นอะไรที่มาก่อนความสำคัญสุดๆ ที่ว่าเพราะถ้าจุดที่วัดแสงมีความใกล้เคียงกับค่าเทากลาง ค่าแสงที่วัดออกมาก็ยิ่งถูกต้องและผิดพลาดน้อย

Gray Card เหรอ? ถูกที่สุดแล้วแต่เราพูดมาซะยืดยาวก็ไม่ได้หมายความว่าให้คุณพกเจ้า Gray Card นี่ไป ไหนมาไหนด้วยตลอดเวลานะ... เรากำลังจะบอกว่าให้วางจุดวัดแสงให้ดีๆ ต่างหาก นั่นก็คือให้ใกล้เคียงกับเทากลาง 18% ที่สุด

แล้วจะไปหาได้ตลอดเวลาเหรอ?

ระบบวัดแสงของกล้องไม่ได้มองเห็นสี (ยกเว้นระบบ 3D Color Matrix ของ Nikon) มันมองทุกอย่างเป็นสีเทา ที่ต่างระดับความเข้มเท่านั้น! เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าเราพอที่จะประเมินได้ว่าสีไหนใกล้กับเทากลางเราก็วัดแสงตรง จุดนั้นซะเลย!

สีไหนบ้างล่ะ? หาเอาเถอะครับในที่ๆ คุณจะถ่าย โดยลองจำสิ่งที่เราเอามาให้ดูที่ด้านล่าง แม้จะไม่มีทฤษฎี เยอะแยะ แต่นี่ก็น่าจะทดแทนกันได้...





เราอาจจะทดลองดูก่อนก็ได้ว่าในสีที่เราเอามาเป็นตัวอย่างนี้มันใช้ได้จริง หรือเปล่า? เช่นสีเขียวของใบไม้ สีม่วงของดอกไม้ หรือสีต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในช่องมองภาพของ คุณ เปลี่ยนระบบวัดแสงเป็น แบบเฉพาะจุดแล้วลองดูทั้งสองด้านที่คุณกำลังเห็นอยู่นี้คือตัวเดียวกัน เพียงแต่ทางฝั่งนี้ได้ถูกแปลงให้เป็นสีเทา นั่นคือสิ่งที่เซลล์วัดแสงในกล้อง ของคุณรับรู้ เปรียบเทียบสีจากช่องทางด้านซ้ายแล้วดูว่าสีใดที่เราพอจะใช้เป็นแนวทาง สำหรับวัดแสงได้?

มาดูที่ตัวอย่างภาพถ่ายจริงๆ กันบ้าง เราได้เอาภาพตัวอย่างไปวิเคราะห์หาค่าสีเทาดู ว่าที่ตำแหน่งใดบ้างที่น่าจะใช้วัดแสงได้ออกมาถูกต้อง ผลออกมาดังภาพขวา คือส่วนที่แสดงด้วยสีเขียวจะวัดแสงได้ใกล้เคียงที่สุดตามด้วยส่วนสีแดง การทดลองนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางประกอบการมองการวัดแสงเพื่อ การถ่ายภาพ ยังไม่สามารถ ใช้เป็นการอ้างอิง ที่ถูกต้อง 100% ได้ ก็หวังเอาไว้ว่่าจะพอเป็นไอเดียสำหรับการวัดแสงครั้งต่อไปของคุณได้บ้างไม่ มากก็ต้องมาก!

Thom Hogan นักถ่ายภาพชื่อดังได้กล่าวแย้งเอาไว้ในบทความของเขาซึ่งเขาได้แย้งว่า อันที่จริงแล้วระบบของกล้องควรที่จะยึดระดับเทากลาง 12% ไม่ใช่ 18% เราก็ยังไม่รู้หรอกว่าใครผิดใครถูก อยากรู้ว่าเขาว่ายังไงก็ตามไปอ่านบทความของเขาดูเลย http://www.bythom.com/graycards.htm
Click here to Read more...

มารู้จักกับ Resolution กัน


มีคำถามอยู่มากมายเกี่ยวกับการนำภาพจากกล้องดิจิตอลไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์ หนึ่งในคำถามที่ทำเอาผู้ ไม่สันทัดกรณีต้องปวดเศียรเวียนเกล้าเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องของความละเอียดหน่วย dpi (Dot Per Inches) หรือ จำนวนจุดต่อนิ้ว...

เหตุที่สงสัยเพราะเจอปัญหาว่ากล้องตัวที่หนึ่งบอกความละเอียด ว่า 72 dpi ตัวที่สองบอกว่า 180 dpi ตัวที่ สามบอกว่า 300 dpi นั่นแสดงว่ากล้องตัวที่บอกว่า 72 dpi คือกล้องที่มีความละเอียดต่ำที่สุดอย่างนั้นหรือ?


คำตอบคือผิด ซึ่งผิดมาตั้งแต่แรกที่เอาหน่วย dpi มาทำความเข้าใจปนกับกล้องดิจิตอลแล้ว ในโลกของกล้อง ดิจิตอลจะบอกขนาดกว้างคูณยาวของภาพในหน่วยพิกเซล (pixel) เช่นในกล้องตัวหนึ่ง ถ่ายที่ความละเอียดสูงสุด ในโหมด JPEG แล้วได้ภาพที่มีขนาด 3872x2592 px (พิกเซล)เมื่อคุณจะนำภาพมาใช้กับงานสิ่งพิมพ์ที่ต้องใช้ใน ระดับความละเอียด 300 dpi สิ่งที่คุณต้องทำคือลืมเรื่องที่กล้องบอกคุณถึงเรื่อง dpi ออกไปก่อน แล้วต้องคำนวณ
ตามวิธีการดังนี้

นำความยาวของภาพ (ด้านที่ยาวที่สุด) หารด้วย 300 ตามตัวอย่างคือ 3872 ÷ 300 = 12.906 ผลลัพธ์ที่ได้ คือความยาวในหน่วยนิ้วที่ภาพนั้นๆ จะนำไปใช้พิมพ์ได้ด้วยความละเอียด 300 dpi ตามตัวอย่างคือนำไปพิมพ์ได้ที่ ขนาดราวๆ 13 นิ้ว...

แล้วตัวเลขทั้งหมดนั้นเอามาจากไหน ?

ในงานสิ่งพิมพ์ระดับ 300 dpi หมายความว่าในหนึ่งนิ้ว จะมีจุดเรียงตัวอัดกันอยู่ 300 จุด ซึ่งหมายถึงภาพ จะมีคุณภาพและความคมชัดในระดับดีมาตรฐานสำหรับงานสิ่งพิมพ์ และงานสิ่งพิมพ์นี้ก็จะอ้างอิงที่ระดับ "จุด ต่อนิ้ว"

ในขณะเดียวกัน กล้องดิจิตอลไม่ได้อ้างอิงที่ระดับจุดต่อนิ้ว แต่บอกจำนวนจุด กว้าง x ยาวทั้งหมดของภาพ ด้วยหน่วยพิกเซล (จุด) เพื่อการแสดงถึงระดับการบันทึกภาพในหน่วย MP (Megapixel) หรือระดับล้านจุด ดังที่ คุณจะเห็นได้ตามโฆษณากล้องทั่วไปว่าถ่ายได้กี่ล้านพิกเซล ซึ่ง MP ก็จะได้ มาจากสูตรการหาพื้นที่ปกติคือ กว้าง x ยาว ก็จะได้จำนวนพิกเซลทั้งหมดในภาพออกมา

ยกตัวอย่างเดิม ภาพขนาด 3872 x 2592 px เมื่อคูณกันแล้วก็จะเท่ากับ 10,036,224 - นี่คือจำนวนพิกเซลทั้ง หมดที่มีในภาพ อยากรู้ค่า MP? ก็เอาหนึ่งล้านไปหารค่าที่ได้ ก็จะได้เท่ากับ10.036224 ดูง่ายๆ ก็คือ 10 MP หรือ สิบล้านพิกเซล...

กลับมาที่ dpi ... ขนาดของภาพที่บอกเป็นพิกเซลนั้นหมายถึง 72 dpi หรือ (72 จุดต่อนิ้ว) เอาตัวอย่างมาหา ขนาดที่พิมพ์ในระดับ 72 dpi ก็คำนวณง่ายๆ คือ 3872 x 72 = 53.7 นี่คือหน่วย "นิ้ว" ที่คุณจะนำไปพิมพ์ได้ที่ 72 dpi... ย้ำว่า 72 dpi (ซึ่งถ้าคุณเอาภาพระดับความละเอียดนี้ไปพิมพ์ ภาษาวงการจะเรียกว่า "ภาพมันแตก")

ดังนั้นถ้าจะหาขนาดที่ 300 dpi ก็ต้องเอา 300 ไปหาร ผลลัพธ์ก็ออกมาตามข้างต้น ถ้าคุณยังสงสัย ก็ลอง เปิดภาพถ่ายจากกล้องของคุณขึ้นมาสัก 1 ภาพด้วย Photoshop แล้วเลือกคำสั่ง Image --> Image size ในส่วนของ Pixel Dimensions คุณก็จะเห็นกว้าง x ยาว ในหน่วยพิกเซล แต่ที่ Document Size ก็จะบอกคุณได้ใน หลายๆ หน่วย,บอก Resolution หรือ "ความละเอียด" ทั้งแบบ "ต่อนิ้ว" และ "ต่อเซ็นต์"ที่สัมพันธ์กับขนาดที่แท้จริง ให้ดู สังเกตที่ด้านหลังของช่องทั้งสามให้มีเส้นดำและสัญลักษณ์ "โซ่" อยู่ด้วย หากไม่มีให้คุณคลิ๊กเลือก "Resample Image" ออกเสีย (ไม่เลือก) แล้วลองเปลี่ยนขนาดกว้าง x ยาว ของภาพไปมาดู คุณก็จะได้เห็นความสัมพันธ์ของ ความละเอียดและขนาดของภาพที่เปลี่ยนตามกันไป ในขณะที่ Pixel Dimensions ยังอยู่เฉยๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือถ้าคุณยังไม่คลายสงสัยเราก็ขอให้คุณลองดูเปรียบเทียบการแสดงค่า EXIF ของกล้องทั้งสองตัวต่อไปนี้ (จาก แถบ Info ของโปรแกรม Adobe Bridge)






• ตัวที่หนึ่ง 3872 x 2592 บอกความละเอียดที่ 300 dpi แต่ดูที่ Dimensions (in inches) คือ 12.9 นิ้ว x 8.6 นิ้ว
• ตัวที่สอง 4368 x 2912 บอกความละเอียดที่ 72 dpi แต่ใน Dimension (in inches) กลับบอกว่า 60.7 นิ้ว x 40.4 นิ้ว

นี่คือข้อสังเกตถึงการนำเอาภาพไปใช้ในระดับ dpi ต่างๆ กัน ซึ่งถ้าคุณเอาไปดูใน Image Size (Photoshop) แล้วลองเปลี่ยนค่าทั้งสองเป็น 300 dpi เหมือนกัน คุณก็จะเข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้ว ภาพของคุณจะพิมพ์ที่ระดับ 300 dpi ได้ที่ขนาดเท่าไหร่กันแน่

เมื่อนำภาพไปอัดที่ร้าน เครื่องมือของที่ร้านก็จะทำการแปลงขนาดของภาพให้มาอยู่ในระดับที่สวยงาม โดย มันจะทำการคำนวณจำนวนจุดต่อนิ้วที่เหมาะสมเพื่อการอัดหรือขยายตามขนาด ซึ่งถ้ากล้องตัวที่สอง(ที่บอกระดับ 72 dpi) จะนำไปพิมพ์ที่ 300 dpi ก็ได้แค่ 14.56 นิ้วเท่านั้น (4368 ÷ 300 = 14.56)

ดังนั้นขอให้เข้าใจว่า เมื่อคุณเห็นdpi จากในกล้องก็ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องสับสน เพราะนั่นคือวิธีการที่ผู้ผลิต กล้องเลือกใช้ในการนำเสนอถึงคุณสมบัติคำนวณการนำไปใช้งานในหน่วย dpi ณ ความละเอียดตามที่กล้องตั้ง มา คุณดูแค่เพียงขนาดกว้าง x ยาวในหน่วยพิกเซลของภาพก็พอ แยกการบอกขนาดแบบ "พิกเซล" และ "dpi" ออกจากกันเสีย อย่าเอามารวมกัน

ต่อเมื่อเข้าสู่กระบวนการสิ่งพิมพ์แล้วต่างหาก dpi คือสิ่งที่คุณต้องให้ความสนใจตามสูตรที่เราเพิ่งบอกไป ข้างต้นนี้ เพราะไม่ว่าจะบอกมาที่ 300หรือ 180 หรือ 72 dpi ก็ล้วนต้องนำมาคำนวณแบบเดียวกัน เพียงแต่แบบ72 dpi นั้นยังไม่ได้ผ่านการคำนวณมาให้ก็แค่นั้นเอง.
Click here to Read more...

Thursday, July 15, 2010

Noise : กำจัด noise ให้สิ้นซาก

ใครๆ ที่ถ่ายภาพก็ต้องเจอ Noise แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่รู้จักมัน รู้สึกแต่ว่าทำไมภาพมันดูแปลกๆ

Noise หรือจุดรบกวน จะมีลักษณะจุดที่เกิดขึ้นในภาพ มันเกิดจากสองสาเหตุคือ ภาพที่ถ่ายด้วยค่า ISO สูง และภาพในส่วนมืดที่ถ่ายด้วยค่าการเปิดรับแสงนาน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยก็เนื่องด้วยความต่างกันของคุณภาพของ เซ็นเซอร์รับภาพและระบบการจัดการของกล้องรุ่นต่างๆ


Noise ถูกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะที่ต่างกันคือ :

• Luminance Noise มีลักษณะ เป็นจุดโทนสีเดียว มีผลทำให้ภาพมีลักษณะหยาบ
• Color Noise จุดสีต่างๆ จะกระจายปะปนกัน

เมื่อเราถ่ายภาพด้วยวิธีดังที่บอกมาแล้ว ก็มักต้องเจอ Noise ตัวร้าย ซึ่งลดคุณภาพของภาพเราลงแน่ๆ ใน Photoshop ของเราก็มีตัวช่วยรับมือกับ Noise วิธีจัดการก็ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร....

ใช้คำสั่ง Filter | Noise | ReduceNoise... ก็จะมีหน้าต่างของ Reduce Noise ปรากฏขึ้นมา พร้อมช่อง Preview ภาพของเรา คลิ๊กที่เครื่องหมาย + หรือ - (ข้างใต้ภาพ) จนตัวเลขมาอยู่ที่ 100% เพื่อแสดงภาพในขนาด จริง (เพราะในขนาดย่ออาจจะมองไม่เห็น Noise) หรือถ้ามีจอใหญ่ ก็ดูจากที่ภาพจริงก็ได้



• Strength ค่าการควบคุมการปรับลด Luminance Noise
• Preserve Detail สำหรับการรักษารายละเอียดของภาพให้คงไว้ ที่ 100%จะรักษารายละเอียด ได้ดีที่สุด
แต่จะทำ ให้การลด Noise ไม่ค่อยมีผล
• Reduce Color Noise ลด Color Noise แต่ยิ่งตั้งสูง รายละเอียดในภาพก็ยิ่งหายไปมาก
• Sharpen Detail เพราะการลด Noise จะทำให้ความคมชัดหายไป ค่านี้จะทำการเพิ่มความคมชัดให้มากขึ้น
(ถ้าจะ ให้ดี ใช้ Sharpen ตัวแยกทีหลังดีกว่า)
• Remove JPEG Artifacts ลดการเกิดช่องสี่เหลี่ยมในภาพ อันเนื่องมาจากภาพถูก Save มาเป็น JPEG
คุณภาพต่ำๆ



เราควรพิจารณาจากภาพของเราว่ามี Noise ในลักษณะใดเกิดขึ้นในภาพและใช้การตั้งค่าให้ตรงกับลักษณะ ของ Noise ประเภทนั้นๆ

ซึ่งหากเราเห็นว่าในภาพมีปัญหาแบบ Luminance Noise เราก็สามารถเลือกที่ Advance ซึ่งจะมีตัวเลือกแท็ป Channel เพิ่มขึ้นมาให้

คลิ๊กที่แท็ปนั้น จะเห็นได้ว่ามีการแสดงภาพเป็นลักษณะขาว-ดำ และมี 3 Channel ให้เลือกคือ Red, Green, Blue โดยที่เราเปลี่ยนในแต่ละ Channel ก็จะเห็นได้ว่าภาพจะแตกต่างกันออกไป

Luminance Noise มักจะเกิดขึ้นชัดเจนที่ Channel หนึ่งๆ เช่น มีเฉพาะใน Channel Blue (น้ำเงิน) เราก็ สามารถจะปรับแก้เฉพาะ Channel นั้นของภาพได้เลย โดยที่ไม่ต้องไปยุ่งกับ Channelอื่นๆซึ่งก็จะเป็นการรักษา คุณภาพของภาพให้ดีขึ้นอีก

ถึงแม้ว่า Reduce Noise จะมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องใช้ให้ถูกต้อง ถ้าใช้มันมากไปก็จะทำให้ภาพดูขาดราย ละเอียด กลายเป็นได้ภาพที่ไม่สวยมาแทน...หนักยิ่งกว่าเดิม

จงใช้ด้วยความพอดี! ถึงแม้ว่าเราจะมี Photoshop เป็นผู้ช่วยอันแสนดี แต่เราก็ควรถ่ายภาพมาให้ดีที่สุดเสีย ก่อน ใช้กล้องเป็นเครื่องมือหลัก อย่าใช้มันแก้ไขจนเคยตัว!
Click here to Read more...

ทำความรู้จักกับ RGB,sRGB

เป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับคอกล้องหลายๆ คนกับเรื่อง sRGB กับ AdobeRGB ว่าจะใช้ตัวไหนดี? ตัวไหน เป็นอย่างไร? และอีกสารพัดคำถามที่ตามกันมาติดๆ

ในฐานะที่เป็นคนหลังกล้อง และที่หลังกล้องก็มีเจ้า 2 ตัวที่ว่านี้มาให้เลือกก็จำเป็นอยู่บ้างที่จะรู้จักมันเอา
ไว้ ถึงแม้จะไม่ต้องถึงกับใส่บ่าแบกหามก็ตามที

ทั้ง sRGB และ Adobe RGB ต่างก็เป็น Color Space หรือภาษาบ้านเราเรียกว่า “ปริภูมิสี” หมายถึงช่วงการใช้งานสีของอุปกรณ์นั้นๆ ว่าจะมีจำนวนสีให้เลือกใช้มากเท่าใด?

sRGB เป็นการร่วมมือกันพัฒนาขึ้นระหว่าง Microsoft และ Hewlette-Packard (HP) เพื่อนำไปใช้งานใน ระบบแสดงผลของจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลังจากที่ได้กลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับการแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ แล้ว ก็ยังได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับการแสดงผลในระบบ Internet อีกด้วย ระบบ sRGB สามารถแสดงช่วงของ สีที่คิดได้เป็นปริมาณ 35% ของสีที่มองเห็นได้จริงตามมาตรฐานของ CIE (Commission International de l' éclairage) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป

ส่วน Adobe RGB 1998 คือผลงานของ Adobe Systems Inc. (ผู้ผลิต Photoshop และอีกหลายๆโปรแกรม ที่มีชื่อเสียงทางด้านสิ่งพิมพ์) ซึ่งเห็นว่าน่าจะมี Color Space ที่ใช้งานได้กว้างจึงได้พัฒนามันขึ้นมานัยว่าเพื่อรองรับ งานระดับ “มืออาชีพ” ซึ่งในการจัดการก็ต้องมืออาชีพด้วย มันสามารถแสดงช่วงสี ได้ถึง 50% จากสีที่มองเห็นได้จริง





Color Space เป็นสิ่งที่สำคัญต่องานภาพถ่ายอย่างมากซึ่งมันจะเป็นตัวชี้คุณภาพทางด้านสีของภาพได้เลย หากเราเข้าใจและควบคุมมันอย่างถูกวิธี
ชาร์ตสีด้านซ้ายที่เรานำมาให้ดูนี้แสดงพื้นที่ของช่วงขอบเขตสีของทั้งสองแบบโดยพื้นที่สีทั้งหมดคือสีที่ดวง ตาสามารถมองเห็นได้ (แน่นอนว่าต้องเป็นผู้ที่มีสายตาเป็นปกติ)โดยพื้นที่ในเขตเส้นสีน้ำเงินคือขอบเขตของ sRGB และในเส้นสีส้มคือขอบเขตของ Adobe RGB 1998 ลืมสีเหลืองไปซะก่อน...

จะเห็นได้โดยไม่ต้องเดาให้ปวดขมับว่า Adobe RGB 1998 มีขอบเขตหรือช่วงของสีมากกว่า sRGB นั่นหมาย ถึงว่ามันมีระดับของสีให้ใช้กว้างกว่า...ไม่ต้องคิดมาก มันก็เหมือนเรามีดินสอสีมาตรฐาน 12 สี 1กล่องในชั่วโมงศิลปะ แต่เพื่อนผู้ร่ำรวยของเรามีดินสอสีชุดพิเศษ 20 สี ไล่ระดับพร้อมสรรพ ถ้าความสามารถสูงเท่ากันคุณว่าใครที่จะระบาย สีโดเรมอนได้สวยงามกว่ากัน?

สิ่งที่ Adobe RGB มีเหนือกว่าเป็นพิเศษก็คือช่วงของสีน้ำเงิน (Cyan) - เขียว ที่สามารถไล่ระดับได้ “เนียน” ยิ่งขึ้นกว่า sRGB นั่นหมายความว่าในการถ่ายภาพต้นไม้ใบหญ้า สีเขียวของใบไม้ก็จะถูกถ่ายทอดออกมาได้ สวยงามและเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น (นี่เป็นแค่ตัวอย่างทางสีเขียวที่เรายกมา) เพราะมีช่วงสีเขียวจากสว่างไปหา มืดที่กว้างกว่า แต่โปรดชายตามองอีกครั้งว่านอกจากระดับสีเขียวที่มีมากกว่าแล้ว มันยังแอบมีระดับสีเหลือง, ส้ม, แดง ที่เหนือกว่าอยู่อีกเล็กน้อยด้วย ลองจินตนาการถึงภาพถ่ายพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าของคุณดูสิ! ......................................

ก็แล้วในเมื่อ Adobe RGB 1998 มันเจ๋งกว่า แล้วจะมานั่งใช้ sRGB กันทำไมให้มันวุ่นวายอีกล่ะ?

ตอบแบบกวนประสาทก็ว่า แล้วทำไมคุณไม่ใช้เครื่อง Mac ล่ะ หรือถ้าคุณใช้ ทำไม่เพื่อนคุณไม่ใช้ล่ะ? ก็ในเมื่อมันเจ๋งกว่านี่?

โอ...เรายังไม่อยากไปพบแพทย์ก่อนเวลาอันควร เราจึงตอบว่า AdobeRGB 1998 จริงๆแล้วเหมาะกับอะไรที่ค่อนข้าง ซีเรียสกับเรื่องสีซึ่งก็ต้องใช้ทุนที่มากขึ้นไปอีกในการเตรียมเครื่องมือ และระบบต่างๆ เพื่อให้รองรับการทำงาน ของมัน ที่เขาใช้ๆ กันอยู่ก็อย่างเช่นทางด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ ซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือนั้นไม่ได้ถูกเลย หรือคิดง่ายๆ แค่จอ ภาพที่จริงจังเรื่องสีในระดับมืออาชีพพร้อมที่จะแสดงสีในขั้นเทพออกมาให้ดู นั้น แค่ได้ยินราคาขนก็ลุกเกรียวแล้ว!


ในส่วนของงานถ่ายภาพ ถ้าคุณเป็นนักถ่ายภาพทั่วไปที่ยังไม่ได้จำเป็นในเรื่องสีตรงเป๊ะๆ แล้วละก็ sRGB ก็เหมาะและน่าจะเพียงพอสำหรับคุณแล้วเพราะร้านอัด-ขยายภาพทั่วไปส่วนใหญ่รับแต่ sRGB ถ้าคุณใช้ Adobe RGB และก็ค่อนข้างพอใจกับสีแล้วคุณอาจน้ำตาตกได้เมื่อส่งไปอัดที่ร้าน เพราะเขาจะแปลงกลับมาเป็น sRGB ก่อนที่ จะพิมพ์มันออกมา ซึ่งช่วงสีในภาพที่มันเลยขอบเขตของ sRGB ออกไปก็จะถูกดึงกลับเข้ามาในเขตของ sRGB สีเขียว เจ๋งๆ ของคุณจะไปเหลืออะไรล่ะ?

ทำไมเขาต้องทำอย่างนั้น?

ก็เพราะว่าเครื่องมือของเขามันรองรับแต่ sRGB น่ะสิ! ถ้าคุณอยากใช้ Adobe RGB จริงล่ะก็ คุณต้อง
ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของกระบวนการจัดการสี (CMS) แล้วล่ะเพราะถ้าไม่แม่นจริง คุณต้องพลาดในขั้นตอนใดขั้นตอนนึงแน่ๆ ...

ถ้าอะไรๆ มันสมบูรณ์แบบไปหมดล่ะก็ พวกเราคงไม่ต้องเอารถไปติดแก๊สกันให้วุ่นหรอก...คุณว่าจริงมั๊ย?
Click here to Read more...

Shooting Mode : โหมดการถ่ายภาพแบบต่างๆ


ได้กล้องมาใหม่ มือใหม่หลายคนทำหน้างงๆ ว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหนดี แน่ละเริ่มที่ปุ่มชัตเตอร์ก่อนเลย ว่าแล้ว ก็กดแชะ! เข้าให้ อืมม..แล้วไงต่อ?

กล้อง DSLR มีสองส่วนหลักสำหรับปรับตั้งก่อนการถ่ายภาพที่จำเป็น นั่นก็คือ “สปีดชัตเตอร์” และ “รูรับแสง” ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้ส่งผลต่อการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก อย่างที่เราเคยเล่นกับ TurnPro ไปเมื่อตอนเรื่องแรกๆ (ใคร ยังไม่เคยเล่นรีบดาวน์โหลดมาทำความเข้าใจซะ!)ซึ่งโหมดถ่ายภาพที่กล้องจัดเตรียมมาให้เราก็เพื่อความสะดวกใน
การควบคุมทั้งสองปัจจัยหลักนี่แหละ เราลองมาดูกันครับว่าจะต้องทำความเข้าใจและใช้มันยังไง?

โหมดแรกสุดคือ “Full Auto” คืออัตโนมัติแบบเต็มสูบ มักจะแสดงด้วย “Auto” หรือรูปสี่เหลี่ยมสีเขียว ในโหมด นี้กล้องจะจัดการทุกอย่างให้หมด แค่กดชัตเตอร์เท่านั้นเองที่เราต้องทำ อย่าได้ดูถูกมันเชียวในสถานการณ์ที่ต้องการ ความรวดเร็วสูง แค่เล็งแล้วกด โหมดนี้จะช่วยเราได้มากก็เช่นภาพข่าว, ภาพเหตุการณ์ต่างๆ ตากล้องไม่ต้องคิดอะไร
มาก คิดแค่ว่าต้องได้ภาพที่ดูได้เท่านั้นแล้วก็กดชัตเตอร์เลย...กล้องจัดให้ โหมดต่อมา “P” ซึ่งย่อมาจากคำว่า
Program นี่ก็อัตโนมัติเต็มระบบเช่นกัน เพียงแต่ว่าตากล้องยังสามารถปรับค่าต่างๆ เพิ่มได้ตามต้องการอีก หรือถ้า ไม่ต้องการปรับอะไรก็ถ่ายภาพได้เลย

นี่ก็ดูถูกไม่ได้เช่นกันครับ เพราะเหตุการณ์บางอย่างไม่รอให้เราปรับนู่นปรับนี่เพิ่มเติมได้ แต่บางอย่างก็อาจจะ ยังพอปรับได้ ในการบันทึกภาพบางประเภทอาจไม่ได้เน้นสวยงาม แต่เน้นการได้ภาพมากกว่า อย่างภาพข่าวหรือ ภาพสัตว์เพื่อการศึกษาเป็นต้น ที่มักต้องการความรวดเร็ว ไม่คิดมาก

ข้ามปรู๊ดไปที่โหมด “M” ซึ่งก็มาจาก “Manual” ต่างจากทั้งสองโหมดโดยสิ้นเชิง โดยในโหมดนี้ตากล้องต้องปรับตั้งรูรับแสงและสปีดชัตเตอร์เองทั้งหมดซึ่งใน โหมดนี้ควรต้องมีประสบการณ์ในการควบคุมกล้องอยู่สักหน่อย จึงจะได้ภาพออกมาดี เพราะถ้าไม่รู้หลักการการทำงานของกล้องแล้ว ต้องอาศัยลูกฟลุ๊ค (ซึ่งเกิดได้ยาก) อย่าง เดียวถึงจะได้ภาพที่ดีออกมา เล่นลูกเล่นได้สารพัด

สรุปว่าโหมด M นี่เป็นของยากพอสมควรสำหรับมือใหม่ ลองฝึกและเรียนรู้จากโหมดอื่นๆ ก่อนก็จะเป็นการดี




โหมด Tv,S เป็นโหมดที่ตากล้องเป็นผู้ปรับเลือกสปีดชัตเตอร์ และกล้องจะเลือกรูรับแสงที่เหมาะสม
กับสภาพแสงให้เอง

เพราะโหมดนี้เราเป็นผู้เลือกสปีดชัตเตอร์เอง นั่นย่อมหมายความว่าน่าจะเป็นการถ่ายภาพของสิ่งที่มีการ เคลื่อนที่ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว และการที่กล้องจะเลือกรูรับแสงที่เหมาะสมให้ก็แสดงว่าตากล้องไม่ต้องพะวงกับเรื่อง การปรับตั้งรูรับแสง สนใจแค่การจัดองค์ประกอบภาพและสปีดชัตเตอร์ที่เหมาะกับสภาพของวัตถุที่จะถ่าย ในกรณี นี้ยกตัวอย่าง เช่น การถ่ายภาพรถ, ถ่ายภาพนกที่กำลังบิน, สายน้ำตก ฯลฯ ไม่เพียงแต่ความเร็วเท่านั้น หากเราต้อง การสร้างภาพที่ใช้สปีดชัตเตอร์ช้าเช่นภาพ Motion Blur ก็ได้ ข้อสังเกตคือโหมดนี้เราปรับตั้งรูรับแสงเองไม่ได้ ดังนั้น จึงคุมช่วงความชัดลึกหรือชัดตื้นไม่ได้

เมื่อเลือกใช้โหมดนี้ในการถ่ายภาพให้ปรับที่วงล้อตั้งค่าหลัก ค่าตั้งของสปีดชัตเตอร์ก็จะเปลี่ยนไปตามที่เรา กำหนดและค่ารูรับแสงจะเปลี่ยนไปตามค่าตั้งของสปีดชัตเตอร์โดยอัตโนมัติเพื่อให้ได้ปริมาณแสงที่เหมาะสมกับ ภาพนั้นๆ




โหมด Av,A โหมดที่ตากล้องต้องเป็นผู้ปรับเลือกขนาดรูรับแสงเอง และกล้องจะปรับสปีด
ชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้

พูดอีกอย่างก็คือเราเป็นผู้กำหนดปริมาณแสงที่จะเข้าสู่กล้อง อีกนัยหนึ่งก็คือคุมความชัดลึก-ชัดตื้นของภาพ ซึ่งถ้าหากยังไม่ค่อยเข้าใจ ลองอ่าน Turn Pro จาก TSD ในฉบับที่ 1 (มีแบบตัวอย่างให้ลองเล่นด้วย)

โหมดนี้จะเหมาะกับการถ่ายภาพหุ่นนิ่งหรือภาพที่มีเวลาปราณีตสักหน่อยเพราะต้องพิจารณาช่วงความชัด ด้วย เช่นการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์, ถ่ายภาพบุคคล,ถ่ายภาพทิวทัศน์, ภาพสถาปัตยกรรม ฯลฯ ซึ่งเรากำหนดให้เป็น ภาพแบบหน้าชัดหลังเบลออันเป็นภาพยอดนิยมได้ง่าย

ข้อสังเกตคือ ที่โหมดนี้เราเลือกรูรับแสงเอง กล้องเลือกสปีดชัตเตอร์ให้ดังนั้นในขณะที่ปรับตั้งค่ารูรับแสง ให้ดู ที่ความเปลี่ยนแปลงของสปีดชัตเตอร์ด้วย เพราะในสภาพแสงน้อยหรือเลือกใช้รูรับแสงแคบๆสปีดชัตเตอร์จะถูกตั้ง ให้ช้าลง ซึ่งอาจจะช้าจนถือกล้องด้วยมือปกติไม่ได้ ถ่ายออกมาภาพก็สั่นไหวขาดความคมชัด เพราะกล้องจะคำนึง ถึงปริมาณแสงเพียงอย่างเดียว
Click here to Read more...